วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร(พระแก้ว)

 พระพุทธปฎิมากรแก้วมรกตนี้ มีตำนานโดยย่อสังเขปว่า เทวดาได้สร้างถวายพระนาคเสนเถระ ซึ่งเป็นพระอรหันต์องค์สำคัญองค์หนึ่งในพระพุทธศาสนา เมื่อท่านจำพรรษาอยู่ ณ เมืองปาฎลีบุตร พระนาคเสนเถระได้อธิษฐานอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระบรมศาสดาให้มาประดิษฐานอยู่ในองค์พระแก้วและพระแก้วมรกตนี้ประดิษฐานอยู่ในเมืองปาฎลีบุตรเป็นเวลานาน ต่อมาได้ตกไปยังลังกาทวีป แล้วตกไปอยู่เมืองกัมพูชา เมืองศรีอยุธยา เมืองละโว้ และเมืองกำแพงเพชรเป็นลำดับ ภายหลังได้ตกไปอยู่เมืองเชียงราย เจ้าเมืองเชียงรายเกรงศัตรูจะทำลาย จึงเอาปูนพอกลงรักปิดทองเอาไว้ในพระเจดีย์


ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๗๗ พระสถูปเจดีย์ถูกอสนีบาตฟ้าผ่าทลายลง พวกชาวเมืองได้เห็นพระพุทธรูปลงรักปิดทองทึบทั้งองค์ เข้าใจว่าเป็นพระพุทธรูปศิลาสามัญ จึงอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในวิหารแห่งหนึ่ง ครั้นต่อมาปูนที่หุ้มตรงปลายพระนาสิก(จมูก)ได้กระเทาะออก พระสงฆ์ในวัดนั้นได้ไปเห็นเข้าจึงช่วยกันกระเทาะปูนออกจากองค์ทั้งหมด ได้ทราบว่าเป็นพระพุทธรูปแก้วทึบทั้งองค์ บริสุทธิ์ รัศมีสุกใสไม่มีบุบสลาย พวกชาวเมืองเชียงราย และเมืองใกล้เคียงได้ทราบก็พากันไปบูชาสักการะเป็นจำนวนมาก


เจ้าเมืองเชียงรายจึงมีใบบอกไปยังพระเจ้าสามฝั่งแกน เจ้าแผ่นดินเชียงใหม่เมื่อยังดำรงเอกราชอยู่ เจ้าเมืองเชียงใหม่จึงได้จัดช้างเป็นขบวนแห่อัญเชิญพระแก้วมารกตมาครั้นขบวนแห่มาถึงทางแยกที่จะไปเมืองลำปาง ช้างที่รับพระแก้วมรกตก็วิ่งตื่นไปทางเมืองลำปาง ควาญช้างได้ปลอบโยนให้สงบลงแล้ว พามาถึงทางที่จะไปเมืองเชียงใหม่ ช้างก็ตื่นวิ่งไปทางเมืองลำปางอีก หมอความญช้างจึงเปลี่ยนเอาช้างที่เชื่องมารับเสด็จ ช้างนั้นก็ตื่นวิ่งไปทางลำปางอีก ด้วยเหตุนั้น ท้าวพระยาประชาชนผู้ไปรับเสด็จ ได้เห็นแปลกประหลาดมหัศจรรย์ จึงมีใบบอกไปยังเจ้าเมืองเชียงใหม่ ขณะนั้นเจ้าเมืองเชียงใหม่ยังมีความเชื่อโชคลางฝีสางอยู่ จึงดำริว่าผีที่รักษาองค์พระคงไม่ยอมมาเชียงใหม่ จึงให้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปไว้ ณ เมืองลำปาง พระพุทธมณีรัตนปฎิมากรประดิษฐานอยู่ที่เมืองลำปางนานถึง ๑๒ ปี


ต่อมาพระเจ้าติโลกราชได้ขึ้นครองราชสมบัติ ณ เมืองเชียงใหม่ เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่มีพระบรมเดชานุภาพมาก ทรงดำริว่าเจ้าเมืองเชียงใหม่ที่แล้วๆมา ได้ยอมให้พระแก้วมรกตไปประดิษฐานที่เมืองลำปาง เป็นการไม่สมควร จึงได้ไปอาราธนาอัญเชิญกลับมาและทรงสร้างเจดีย์ถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร ประดิษฐานอยู่ที่เชียงใหม่นานถึง ๘๔ ปี


ครั้นเมื่อพระเจ้าเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพระราชบิดาของนางหอสูงสวรรคต เป็นเหตุให้เมืองเชียงใหม่ว่างกษัตริย์ผู้ครองเมือง พระยาและเสนาบดีทั้งปวงจึงพร้อมกันแต่งราชบรรณราการไปถวายพระเจ้าโพธิสารผู้ครองกรุงศรีสัตตนาคนหุต และได้ทูลขอพระราชโอรสซึ่งประสูติจากพระนางหอสูงมาครองราชสมบัติแทนพระอัยกา พระเจ้ากรุงศรีสัตตนาคนหุต จึงโปรดให้เสนาบดีจัดแจงจตุรงคเสนาพาพระราชโอรส ซึ่งมีพระชนมายุเพียง ๑๒ พรรษา ไปทำพิธีราชาภิเษกครองราชสมบัติ ณ เมืองเชียงใหม่ ทรงพระนามว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ต่อมาอีก ๓ ปี พระเจ้าโพธิสารก็เสด็จสวรรคต เสนาพฤฒาจารย์ และสมณชีพราหมร์จึงได้อัญเชิญพระเจ้าไชยเชษฐาขึ้นครองราชสมบัติอีกเมืองหนึ่ง เพื่อป้องกันราชโอรสองค์นั้นแย่งราชสมบัติกัน พระเจ้าไชยเชษฐาเมื่อประทับยังกรุงศรีสัตตนาคนหุต ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาด้วย เพื่อให้ประชาราษฎร์และพระบรมวงศานุวงศ์ได้กระทำการสักการบูชา บางครั้งพระองค์ประทับอยู่นานจนชาวเมืองเชียงใหม่คิดว่าไม่เสด็จกลับ จึงได้อัญเชิญเชื้อพระวงศ์องค์อื่นขึ้นครองราชสมบัติแทน ทำให้พระเจ้าไชยเชษฐาทรงพระพิโรธมาก ได้ยกกองทัพมาหมายเพื่อจะตีเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าเชียงใหม่ได้หันไปทำไมตรีผูกมิตรกับพม่าซึ่งขณะนั้นพระเจ้าบุเรงนอง หรือที่เรารู้จักกันว่า ผู้ชนะสิบทิศ กำลังเสวยราชสมบัติอยู่ พม่าได้ยกกองทัพมาช่วย พระเจ้าไชยเชษฐาทรงเกรงว่าจะสู้กองทัพพันธมิตรของสองนครไม่ได้จึงยกกองทัพกลับมา


พระเจ้าไชยเชษฐาได้ทรงตรวจดูทำเลที่ตั้งของกรุงศรีสัตตนาคนหุต ถ้าหากต้องทำศึกใหญ่กับพม่า ทรงเห็นว่าชัยภูมิไม่เหมาะสม เพราะอยู่ใกล้ภูเขาใหญ่ห่างไกลจากแม่น้ำ จึงทรงย้ายราชธานีไปตั้งใหม่ที่เวียงจันทน์ ซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม สมบูรณ์ไปด้วยข้าวปลาอาหาร พระองค์ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปด้วย พระเจ้าไชยเชษฐาองค์นี้แหล่ะ ที่ประวัติศาสตร์ไทยกล่าวว่า ได้แต่งเครื่องบรรณาการมาทูลขอพระราชธิดาของพระมหาจักรพรรดิไปเป็นอัครมเหสี แต่ถูกกองทัพพม่าดักชิงไปในระหว่างทาง พระองค์ได้ช่วยไทยทำสงครามกับพม่าหลายครั้งหลายหน


กาลต่อมาเมื่อไทยได้เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พม่าได้ขนเอาทรัพย์สมบัติอันมีค่ามหาศาลไปหมด แม้แต่องค์พระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดก็ยังถูกพม่าเอาไฟเผาลนเอาทองไป เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี(ตากสิน) ได้ยกกองทัพเรือมาจากจันทบุรีโจมตีพม่าที่รักษาเมืองพ่ายแพ้ย่อยยับไป ได้กอบกู้เอกราชคืนมาได้สำเร็จหลังจากเสียกรุงไปเพียง ๗ เดือนเท่านั้น พระองค์ได้ย้ายเมืองหลวงจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรี ทรงรวมประเทศไทยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งยังได้แผ่พระบรมเดชานุภาพขยายพระราชอาณาเขตให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทรงโปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(รัชกาลที่ ๑) ยกกองทัพไปปราบหัวเมืองลานช้าง เมื่อตีเมืองเวียงจันทน์ได้แล้ว ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมายังกรุงธนบุรีด้วย โดยอาราธนามาประดิษฐานไว้ที่โรงพระแก้ว ในพระราชวังเดิม ข้างวัดอรุณราชวราราม ได้ทำพิธีฉลองสมโภชอย่างมโหราฬตลอด ๗ วัน


เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติ ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงสร้างตำบลบางกอกทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นเป็นเมืองหลวงขนานนามว่า กรุงเทพพระมหานครอมรรัตนโกสินทร์ เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๓๒๕ โปรดให้สร้างพระอารามขึ้นในบริเวณมาหราชวัง เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานในพระอุโบสถ และขนานนามวัดว่า วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในองค์พระปฎิมากรยิ่งนัก ทรงถือว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองทีเดียว จึงได้ทรงสร้างเครื่องทรงถวายสำหรับฤดูร้อนและฤดูฝนจนกระทั่งรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรางสร้างเครื่องทรงสำหรับฤดูหนาวถวายอีกสำรับหนึ่ง สำหรับฤดูทั้งสาม การผลัดเปลี่ยนเครื่องทรงแต่ละฤดูนั้น เป็นพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกรัชกาลสืบมา


สีรถ,สีเสื้อ,วันออกรถ,สิ่งมงคล,ศิริมงคล,เหล็กไหล,เสริมดวงร้านค้า,ของไหว้ศาลพระภูมิ,พระภูมิเจ้าที่,อาบน้ำมนต์,พิธีพุทธาภิเษก,เงินทองไหลมาเทมา,เครื่องรางของขลัง,วิธีเสริมดวง,สิริมงคล,เสริมสิริมงคล,การเสริมสิริมงคล,แก้เคล็ด,เสริมโชคลาภ,เพิ่มราศี,ดูดี,มีราศี,ดอกไม้,มงคล,ไม้มงคล,ฤกษ์ออกรถ,ดับทุกข์,สาเหตุทุกข์,บูชา,พระพุทธรูป,ศักดิ์สิทธิ์,อภินิหาร,น้ำมนต์,ทำมาหากิน,ค้าขาย,เจริญรุ่งเรือง,ก้าวหน้า,สีเสื้อ,สีรถ,traffic,website traffic,web traffic,หวย,เลขเด็ด,กูเกิ้ล,

ประวัติพระพุทธชินราช

 พระพุทธรูปที่งดงามของไทย คือพระพุทธชินราช ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ตามที่ตำนานเมืองเหนือกล่าวว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏก เจ้าแผ่นดินเชียงแสน ทรงมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ได้ทรงเล่าเรียนศึกษาพระไตรปิฎกจนคล่องแคล่วชำนิชำนาญทำนุบำรุงกิจการพระพุทธศาสนา ให้เจริญวัฒนาแผ่ไพศาลไปทั่วทุกทิศานุทิศ ถึงแม้พระทัยของพระองค์จะยึดมั่นในพระพุทธศาสนาเพียงใดก็ตาม ก็หาได้เว้นการแผ่นพระบรมเดชานุภาพขยายอาณาเขตไม่ จึงได้หาเหตุกรีธาทัพยกมาตีเมืองสวรรคโลก หรือศรีสัชนาลัย พระเจ้ากรุงศรีสัชนาลัย ได้ยกกองทัพออกต่อสู้ กองทัพได้ปะทะกันหลายครั้ง พลทหารทั้งสองฝ่ายล้มตายเป็นอันมาก พระเจ้ากรุงศรีสัชนาลัยตกอยู่ทางฝ่ายเสียเปรียบ จึงได้เจรจาหย่าทัพเริ่มสถาปนาความสัมพันธไมตรีให้มีต่อกันตามเดิม ได้ยกพระราชธิดาถวายต่อพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เมื่อพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกได้พระราชธิดาก็ทรงพอพระทัยจึงยกทัพกลับ ตั้งพระนางไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี






พระนางมีพระราชโอรสกับพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏก ๒ องค์ องค์หนึ่งทรงพระนามว่า ไกรสรราช อีกองค์หนึ่งทรงพระนามว่า ชาติสาคร พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกได้ทรงสร้างเมืองขึ้นใหม่ที่ตำบลสองแคว เพื่อให้พระราชโอรสปกครอง ได้ตั้งชื่อเมืองที่่สร้างใหม่ว่า "เมืองพิษณุโลก"








เนื่องจากพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงได้ทรงดำริว่า จะสร้างพระพุทธรูปไว้เป็นศรีแก่เมืองพิษณุโลก ได้ให้ช่างเมืองสุโขทัยกับเมืองเชียงแสน ร่วมกันสร้างหุ่นพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์ คือ พระพุทธชินราชองค์หนึ่ง พระพุทธชินสีห์องค์หนึ่ง พระศรีศาสดาองค์หนึ่ง เป็นพระพุทธรูปงดงามมาก แล้วหล่อพระพุทธรูปทั้งสามองค์ด้วยทองสัมฤทธิ์ เมื่อวันเพ็ญเดือนยี่ ปีจอ พ.ศ. ๑๔๙๙ เมื่อเย็นแล้วได้แกะแบบพิมพ์ออก รูปของพระชินสีห์ และพระศรีศาสดาเนื้อทองได้แล่นตลอดเสมอกันติดสนิทเรียบร้อยสมบูรณ์ดี แต่รูปพระพุทธชินราชทองหาได้แล่นติดกันไม่ ช่างได้ทำหุ่นหล่อใหม่อีกถึง ๓ ครั้ง ทองก็ไม่ติด ยังความเศร้าโทมนัสแก่พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกเป็นอย่างยิ่ง








พระองค์ทรงตั้งสัตยาอธิษฐานร่วม กับพระอัครมเหสีในการที่จะทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาให้วัฒนาถาวรสืบไป แล้วให้ช่างสร้างหุ่นใหม่ คราวนี้เทวดาได้แปลงตนเป็นปะขาวมาช่วยสร้างหุ่นด้วย เมื่อสร้างหุ่นได้เริ่มเททองใหม่ เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีกุน พ.ศ. ๑๕00 พระพุทธรูปก็สำเร็จเป็นอันดี ปะขาวหายไป




เศษทองที่เหลือจากหล่อพระพุทธรูปทั้งสามองค์ ได้รวบรวมหล่อพระพุทธรูปขึ้นอีกองค์หนึ่ง ให้ชื่อว่า พระเหลือ พระพุทธรูป ๔ องค์ ได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก








ถ้าจะพิจารณากันในแง่ประวัติศาสตร์ของชาติไทยแล้ว มีข้อความที่คลาดเคลื่อนกันอยู่มากเช่นเมื่อตอนพ่อขุนรามคำแหงครองราชสมบัติอยู่ ณ กรุงสุโขทัย เมื่อพิษณุโลกยังเป็นหัวเมือง มิได้มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงอีกประการหนึ่ง ลักษณะพระพุทธรูป ๓ องค์นี้ เป็นฝีมือช่างเชียงแสนผสมสุโขทัยจริง แต่เป็นฝีมือช่างรุ่นหลัง จะสังเกตเห็นได้จากชายจีวรซึ่งยานแบบลังกา ปลายนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน ซึ่งผิดกับสมัยกรุงสุโขทัยและเชียงแสนรุ่นก่อน ซึ่งทำนิ้วพระหัตถ์ไม่เท่ากับ




หลักฐานยืนยันอีกอย่างหนึ่งในพงศาวดารเมืองเหนือว่า พระเจ้าแผ่นดินที่ปรากฎเกียรติว่า ทรงรอบรู้พระไตรปิฏกนั้น มีพระองค์เดียว คือ พระมหาธรรมราชาลิไทย เป็นมหาอุปราชครองเมืองศรีสัชนาลัย(สวรรคโลก) ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ ๕ แห่งราชวงศ์พระร่วง ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่งนัก ได้เสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุอยู่วาระหนึ่ง ได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไตรภูมิกถา หรือที่เราเรียกกันว่า ไตรภูมิพระร่วง ทรงชำระสอบสวนพระไตรปิฏก หลักฐานเรื่องราวที่กล่าวมานี้ ทำให้เชื่อได้ว่า พระเจ้าแผ่นดินที่พงศาวดารเมืองเหนือเรียกว่าพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกนั้นคือ พระมหาธรรมราชาลิไทนี่เอง แต่สำคัญเมืองและ พ.ศ. ผิดไป เมื่อพระองค์ครองราชย์แล้ว ได้ทรงสร้างเมืองพิษณุโลกขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง และได้โปรดให้หล่อพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์ ในราวพุทธศักราช ๑๙00 ลักษณะพระพุทธรูปจึงผิดกับพระพุทธรูปเมืองสุโขทัยและเชียงแสนรุ่นก่อน








พระพุทธชินราชหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้วเศษ ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ในวิหารใหญ่ทางทิศตะวันตก หันพระพักตร์ไปทางแม่น้ำ เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย พระมหากษัตริย์ไทยทั้งสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ได้ทรงเคารพนับถือสักการบูชาเสมอมา








พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสรรเสริญว่า พระพุทธชินราชนี้เป็นพระปฏิมากรที่ประเสริฐล้ำเลิศ ประกอบไปด้วยพระพุทธลักษณะสิอันเทพยาดา อภิบาลรักษา ย่อมเป็นที่เคารพนับถือมาแต่ครั้งโบราณกาล แม้พระเจ้าแผ่นดินอยุธาที่มีพระบามเดชานุภาพมากก็ทรงทำการสักการบูชา มาหลายพระองค์








ในแผ่นดินพระมหินทราธิราช พระมหาจักรพรรดิหรือพระเจ้าช้างเผือกได้มอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสคือพระมหินทร์ แล้วเสด็จไปเมืองพิษณุโลก ได้ทรงปฎิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นอันดี แล้วแต่งนางชีและพระภิกษุจำนวนมากให้อยู่รักษาวัดแล้วเสด็จกลับ เมื่อเสด็จมาถึงกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงผนวชพร้อมกับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก








ในแผ่นดินพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนเรศวรราชโอรสเสด็จกลับมาจากกรุงหงสาวดี เพราะถูกพม่าเอาตัวไปเป็นประกัน ขณะนั้นไทยเสียกรุงแก่พม่าเนื่องจากคนไทยขาดความสามัคคี เมื่อพระนเรศวรเจริญวัยได้เสด็จกลับ ครั้นมาถึงเมืองพิษณุโลกทรงเปลื้องเครื่องทรงออกบูชาถวายพระพุทธชินราช ได้ทำการสมโภชตลอด ๓ วัน ๓ คืน 




อนึ่ง เม่อพระนเรศวรถูกพระเจ้านันทะบุเรงกษัตริย์พม่าคิดร้าย พระองค์ทรงทราบโดยพระมหาเถรคันฉ่อง และพระยาเกียรติ พระยารามกราบทูล จึงได้พาท่านทั้งสามกลับมายังกรุงศรีอยุธยา ทรงโปรดให้มหาเถรคันฉ่อง จำอยู่ ณ วัดมหาธาตุ พระราชทานจังหันนิตยภัต และสมณศักดิ์ต่างๆ แล้วพระนเรศวรเสด็จไปยังเมืองพิษณุโลก ทรงเปลื้องเครื่องสุวรรณาลังการและขัตติยาภรณ์ กระทำการสักการบูชาพระพุทธชินราช








ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อพระองค์ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชา ที่ตำบลหนองสาหร่าย ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี กลับมาได้ตรัสลงโทษให้ประหารชีวิตแม่ทัพนายกองเสีย เพราะตามเสด็จไม่ทัน แต่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วพร้อมด้วยพระราชาคณะ ๔๕ รูป เข้าไปถวายพระพรขออภัยโทษ พระองค์ก็ทรงพระราชทานให้ ดังมีเรื่องกล่าวไว้ในประวัติศาสตร์ว่า พระนเรศวรทรงตรัสกับพระพนรัตน์ว่า "พวกนายทัพนายกองมันอยู่ในกระบวนทัพโยม มันกลัวข้าศึกยิ่งกว่าโยม ปล่อยให้โยมสองคนพี่น้องฝ่าเข้าไปท่ามกลางข้าศึก กระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาได้ชัยชนะแล้วจึงเห็นหน้ามัน หากว่าบารมีของโยม หาไม่แผ่นดินจะเป็นข้าของชาวหงสาวดีเสียแล้ว ฉะนั้นโยมจึงให้ลงโทษตามกฎพระอัยการศึก" สมเด็จพระพนรัตน์ถวายพระพรว่า "นายทัพนายกองจะไม่รักใคร่ไม่เกรงกลัวพระราชสมภารเจ้านั้นหามิได้ หากแต่พระเกียรติของพระราชสมภารเจ้าเป็นมหัศจรรย์ เหมือนเป็นครั้งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผจญพระยามาราธิราชในวันตรัสรู้ ถ้ามีเทพยดาเข้าช่วยแม้จะมีชัยแก่พระยามารก็หาเป็นอัศจรรย์ไม่ ขอพระราชสมภารเจ้าอย่าทรงโทมนัสน้อยพระทัยไปเลย ทั้งนี้เพราะเทพยดาเจ้าสำแดงพระเกียรติยศ" เมื่อพระนเรศวรทรงสดับดังนั้นก็ทรงคลายพระพิโรธ ปราโมทย์ในพระหฤทัยให้อภัยโทษตามคำขอ




อนึ่ง ในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรนี้ พระองค์ได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธชินราชหลายครั้ง ครั้งหนึ่งได้ทรงปิดทองด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง และให้มีมหรสพสมโภชตลอด ๗ วัน ๗ คืน








ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมรราชาธิราช พระราเมศวรเสด็จไปยังเมืองพิษณุโลกได้เห็นน้ำพระเนตรของพระพุทธชินราชตกออกเป็นสีแดงคล้ายพระโลหิต








ในแผ่นดินที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ได้ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้ทรงโปรดให้กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์(ต้นตระกูล จิตรพงศ์) ออกแบบพระอุโบสถ ซึ่งเป็นพระอุโบสถที่งดงามมาก สร้างด้วยหินอ่อนล้วน เมื่อสร้างเสร็จแล้วพระองค์ก็ดำริหาพระพุทธรูปที่จะตั้งเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ทรงเห็นว่าพระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปงดงามมาก สมควรที่จะประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ครั้นจะอัญเชิญพระพุทธชินราชลงมาก็เห็นว่าเป็นที่นับถือของประชาชนพลเมืองเป็นอันมาก จึงได้จำลองขึ้นใหม่ และได้เสด็จไปเททององค์พระปฎิมาและสมโภชพระพุทธชินราช เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ เสร็จแล้วจึงโปรดให้อัญเชิญ พระพุทธชินราชจำลอง มาประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ ทรงถวายสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์พนรัตน์ เป็นพุทธบูชา ทรงปิดทองพระพุทธชินราชจำลองด้วยพระหัตถ์แล้วทำการสมโภช ๓ วัน ๓ คืน

ประวัติวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร金佛

คาถาบูชา พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร(หลวงพ่อทองคำ)
อิสวาสุ สวาสุอิ สุสวาอิ พุทัธปิติอิ นะชาลีติ ประสิทธิเม


ประวัตินามของวัด วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นวัดโบราณสร้างเมื่อใดไม่ปรากฎหลักฐาน เดิมชื่อว่า วัดจามจีนใต้ มีคำเล่ากันว่า วัดสามจีน เดิมมีอยู่สามวัด คือ วัดสามจีนที่อยู่ในคลองบางอ้อ ด้านตรงข้ามกับวัดเทเวศร์วัดหนึ่ง วัดสามจีนเหนือ บางท่านก็ว่า อยู่ที่บางขุนพรหม บางท่านก็ว่าอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี สำหรับวัดที่อยู่บางขุนพรหม ได้แก่ วัดสังเวชวิศยาราม ส่วนที่อยู่จังหวัดนนทบุรีนั้นได้แก่ วัดโชติการาม อำเภอเมืองนนทบุรี และวัดสามจีนใต้ ได้แก่ วัดไตรมิตรวิทยาราม เหตุที่เรียกว่าวัดสามจีน ก็เนื่องด้วยว่า มีชาวจีน ๓ คน ได้ช่วยกันก่อสร้างขึ้นมาจึงได้นามว่า วัดสามจีน


ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้เปลี่ยนนามวัดสามจีนใต้มาเป็นวัดไตรมิตรวิทยาราม ทั้งนี้เพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณของท่านแรกสร้างให้ยั่งยืนวัฒนายิ่งขึ้น และเป็นการเชิดชูอุสาหะวิริยะของท่านผู้สร้างและคณะกรรมการปรับปรุงวัด พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารีมหาเถร) วัดมหาธาตุ ได้เมตตาคิดค้นนามที่เป็นมงคลมาเฉลิมเพิ่มความสง่าให้แก่วัดสามจีนใต้ โดยเปลี่ยนนามเป็น วัดไตรมิตรวิทยาราม และกรมสามัญศึกษาได้เปลี่ยนนามโรงเรียนมัธยมวัดสามจีนใต้เป็น โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย ตามนามวัดที่ได้เปลี่ยนใหม่ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒


ครั้นถึงวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙ วัดไตรมิตรวิทยาราม ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์ และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร
พระอุโบสถหลังปัจจุบันนี้ เป็นพระอุโบสถที่ได้สร้างขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐ โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เสด็จมาวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐ หลวงวิศาลศิลปกรรม เป็นผู้ออกแบบพระอุโบสถ การก่อสร้างเป็น เฟอร์โรคอนกรีตทรงจตุรมุข หลังคาสามชั้นมีชานรอบพระอุโบสถ บานพระตู หน้าต่าง เขียนลายรดน้ำ และพระอุโบสถหลังใหม่นี้ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่ เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ประกอบการผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓


ประวัติพระสุโขทัยไตรมิตร
ชื่อ พระสุโขทัยไตรมิตร หรือ พระพุทธรูปทอง
สถานที่ประดิษฐาน พระวิหาร วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร
ลักษณะศิลปะ ศิลปะสุโขทัย ปางมารวิชัย
วัสดุ ทองคำ เป็นทองเนื้อเจ็ดน้ำสองขา
ขนาด หน้าตักกว้าง ๖ ศอก ๕ นิ้ว สูง ๗ ศอก ๑ คืบ ๙ นิ้ว
ประวัติ
พระสุโขทัยไตรมิตร หรือ พระพุทธรูปทอง เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามสมบูรณ์ สันนิษฐานว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัยโปรดให้ประชุมช่างหล่อขึ้น เมื่อสร้างเสร็จก็โปรดให้สร้างพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุขึ้นกลางกรุงสุโขทัย เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทองดังศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า "กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฎฐารส มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันงาม" 
พ.ศ.๑๙๒๐ สมเด็จพระบรมราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ยกทักไปทำสงครามกับพระมหาธรรมราชา (ไสยฦาไท) พระมหาธรรมราชาออกมาถวายบังคมยอมเป็นเมืองขึ้น กรุงสุโขทัยจึงตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยานับแต่นั้นเป็นต้นมา
พระสุโขทัยไตรมิตรคงจะได้รับการอัญเชิญามาจากกรุงสุโขทัย ซึ่งการอัญเชิญพระสุโขทัยไตรมิตรลงมานี้มีข้อสันนิษฐานสามประการ คือ ประการที่หนึ่ง มีผู้อาราธนาลงมาจากกรุงสุโขทัยโดยเลื่อมใสศรัทธา ประการที่สอง ใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียเอกราชแก่พม่า พระสุโขทัยไตรมิตรอาจได้รับการอัญเชิญจากสุโขทัยในครั้งนั้น ประการที่สาม บุคคลใดบุคคลหนึ่งอัญเชิญลงในในราวต้นรัชกาลที่ ๑ หรือในรัชกาลที่ ๓ เพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ปฎิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๒ และมีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ขึ้นไปอัญเชิญพระพุทธรูปตามวัดร้างในกรุงสุโขทัย และหัวเมืองเหนือทั้งปวงมายังกรุงเทพฯ เป็นจำนวนถึง ๑,๒๔๘ องค์ พระสุโขทัยไตรมิตรอาจจะได้รับการอัญเชิญลงมาจากสุโขทัยในคราวนี้ด้วย เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่งดงามจึงนำไปไว้บูชาเสียเองในวัดที่ตนสร้างขึ้น ต่อมาได้นำมาประดิษฐานไว้ที่วัดโชตินาราม (วัดพระยาไกร) ซึ่งพระยาโชฏึกราชเศรษฐี (เจ้าสัวบุญมา) เป็นผู้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง พระสุโขทัยไตรมิตร ที่อัญเชิญมาในครั้งนั้น มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะมีสาเหตุ ๓ ประการ คือ
๑. เอาปูนปั้นหุ้มไว้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยาขึ้นไปทำสงครามกับกรุงสุโขทัย เมื่อกรุงสุโขทัยตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา จึงเกรงว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชจะอัญเชิญพระพุทธรูปลงมากรุงศรีอยุธยา
๒. พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า วัดและพระพุทธรูปถูกเผาสำรอกเอาทองไป ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนที่กลัวพระพุทธรูปทององค์นี้จะถูกเผาสำรองเอาทองไป จึงได้เอาปูนปั้นพอกเสีย
๓. ขุนนางผู้ใหญ่ที่ขึ้นไปพบ เห็นว่าพระพุทธรูปมีพุทธลักษณะงดงาม ก็ได้อัญเชิญมาประดิษฐานในวัดแห่งสกุลของตน แล้งจึงปั้นปูนพอกปิดพระพุทธรูปทองนั้นเสีย


พ.ศ. ๒๔๗๘ วัดโชตนารามมีสภาพเป็นวัดร้าง และบริษัทอิสเอเซียติ๊กเช่าที่วัดทำโรงเลื่อยจักร สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เจ้าคณะแขวงล่าง และสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตติโสภโณ) ได้ให้คณะกรรมการวัดสามจีน (วัดไตรมิตรวิทยาราม) ได้แก่ พระมหาเจียม กมโล พระวีรธรรมมุนี (ไสว ฐิตวีโร) น.อ.หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) ร.น. หลวงบริบาลเวชกิจ (ยู้ ลวางกูล) นายสนิท เทวินทรภักติ ไปอัญเชิญพระสุโขทัยไตรมิตรจากวัดโชตินารามมาประดิษฐานข้างพระเจดีย์วัดสามจีน ในฐานะที่วัดสามจีนเป็นวัดใต้ปกครองของเจ้าคณะปกครองแขวงล่าง ต่อมาเมื่อได้มีการบูรณปฎิสังขรณ์วัดสามจีนและเปลี่ยนชื่อเป็นวัดไตรมิตรวิทยาราม และทำพิธีเปิดป้ายเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ แล้ว พระวีรธรรมมุนี ได้ดำริสร้างพระวิหาร เพื่อประดิษฐานพระสุโขทัยไตรมิตร เมื่อสร้างเสร็จคณะกรรมการวัดได้พยายามยกพระสุโขทัยไตรมิตรเพื่อไปประดิษฐานบนพระวิหารหลายหนก็ไม่เป็นผลสำเร็จ จนกระทั่งวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ฝนตกตอนใกล้รุ่ง พระวีรธรรมมุนีพบว่าปูนตรงพระอุระแตกกะเทาะลงมาเห็นรักปิดทองอยู่ชั้นหนึ่ง จึงให้พระภิกษุสามเณรช่วยกันกะเทาะปูนที่ปิดหุ้มองค์พระไว้นั้นออก จึงเป็นทองตลอดทั้งองค์ เมื่อจะอัญเชิญไปประดิษฐานบนพระวิหารและเพื่อให้น้ำหนักในการยกน้อยลง จึงได้คุ้ยเอาดินใต้ฐานทับเกษรตรออก ก็พบกุญแจกลสำหรับถอดองค์พระออกเป็นตอนๆ ได้ ๙ แห่ง เพื่อสะดวกในการถอดอัญเชิญขึ้นไปประดิษฐาน จึงได้ถอดออกเพียง ๔ ส่วน คือ พระศอ พระหัตถ์ทั้ง ๒ ข้าง พระนาภี สำหรับอีก ๕ ส่วนนั้นไม่ได้ถอดออกคงรักษาไว้ให้คนทั้งหลายได้ชมฝีมือช่างสมัยโบราณ กุญแจกลเหล่านี้ผู้หล่อดั้งเดิมได้ใส่ทองคำสำรองมาให้ครบถ้วน รวมทั้งมุกที่ใส่พระเนตรด้วย


เมื่ออัญเชิญพระสุโขทัยไตรมิตรขึ้นไปประดิษฐานบนพระวิหารแล้ว วัดไตรมิตรวิทยารามได้จัดงานฉลองสมโภชในวันศุกร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๐ ต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามพระสุโขทัยไตรมิตรว่า พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร 


การขึ้นทะเบียน กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุสถาน ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๗๓ ตอนที่ ๒๑ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๙

ประวัติและอภินิหารพระพุทธโสธร

หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๕ ฟุต ๖ นิ้ว สูง ๖ ฟุต ๗ นิ้ว ประดิษฐานอยู่ในวัดโสธรวราราม อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นมิ่งขวัญของชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดใกล้เคียง พุทธศาสนิกชนทั้งไทยและจีนมีความเคารพสักการะมาก หลวงพ่อพุทธโสธรนี้ได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธร ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๓๑๓ จนตราบเท่าทุกวันนี้ เป็นที่ปรากฏเลื่องลือว่ามีอภินิหาร และความศักดิ์สิทธิ์มหัศจรรย์ยิ่งนัก ดังมีคำเล่าลือสืบต่อกันมาว่า


มีพระพี่น้องรูปร่างคล้ายกันมาก อยู่ทางเมืองเหนือ ได้สำเร็จวิชาสามารถจำแลงแปลงกายได้ ได้เนรมิตตนเป็นเป็นพระพุทธรูปลอยล่องมาตามลำน้ำบางปะกง พอถึงบ้านสัมปทวน ได้สำแดงฤทธิ์ลอยทวนกระแสน้ำ ประชาชนชาวสัมปทวนได้พบเห็น จึงพร้อมใจกันเอาเชือกพวนมนิลาลงไปผูกมัดพระพุทธรูปทั้งสามองค์ แล้วชักชวนคนประมาณ ๕๐๐ คน ช่วยกันฉุดพระพุทธรูปทั้งสามองค์ขึ้นแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ เชือกที่ผูกขาดสะบั้นลงไป ผลสุดท้ายก็ไม่สามารถเอาพระพุทธรูปทั้งสามขึ้นจากน้ำได้ พระพุทธรูปทั้งสามองค์จมน้ำหายไปบริเวณที่พระพุทธรูปลอยทวนน้ำนั้นเรียกว่า สามพระทวน ต่อมาสำเนียงก็หดสั้นเข้ากลายเป็น สัมปทวน ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมืองฉะเชิงเทรามาตราบเท่าทุกวันนี้


ครั้นต่อมา พระพุทธรูปทั้งสามได้ลอยตามลำน้ำบางปะกง เลยหน้าวัดโสธร ได้สำแดงฤทธานุภาพผุดขึ้น ชาวบ้านแถบนั้นแลเห็นก็ช่วยกันฉุดขึ้นฝั่งอีก แต่ก็ไม่สำเร็จจนเรียกหมู่บ้านนั้นว่า บางพระ มาจนทุกวันนี้


ต่อแต่นั้นมา พระพุทธรูปทั้งสามองค์ก็สำแดงฤทธิ์ลอยทวนน้ำมา ลอยวนอยู่ที่หัวเลี้ยวตรงกองพันทหารช่างที่ ๒ ฉะเชิงเทรา และได้สำแดงอภินิหารเข้าไปในคลองเล็ก ๆ ตรงกันข้ามกองพันทหารช่างนั้น บริเวณที่พระพุทธรูปลอยวนนั้นเรียกว่า แหลมลอยวน และคลองนั้นเรียกว่า คลองสองพี่น้อง


หลังจากนั้นองค์พี่ได้แสดงปาฎิหาริย์ ลอยไปอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนสามเสน ประชาชนสามแสนคนช่วยกันฉุดขึ้นฝั่งก็ไม่สำเร็จ ตำบลที่ฉุดนั้นจึงได้นามว่า สามแสน ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น สามเสน จนกระทั่งทุกวันนี้ ต่อจากนั้นพระพุทธรูปองค์พี่ได้ลอยไปผุดขึ้นที่ลำแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ประชาชนชาวประมงได้พร้อมใจกันอาราธนาอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่บ้านแหลม เลยเรียกกันว่า หลวงพ่อวัดบ้านแหลม เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวจังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดใกล้เคียงมาก ส่วนพระพุทธรูปองค์น้องสุดท้องได้ไปผุดขึ้นที่บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ประชาชนได้อาราธนาอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ วัดบางพลี ปรากฎว่ามีผู้คนเคารพนับถือมาก มีอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์เท่ากับหลวงพ่อพุทธโสธรเหมือนกัน


ส่วนพระพุทธรูปองค์กลางคือพระพุทธโสธรนน เมื่อลอยน้ำมาจากหัววนดังกล่าวแล้ว ก็ได้แสดงอภินิหารผุดขึ้นที่หน้าวัดโสธร ประชาชนเป็นจำนวนมากได้ช่วยกันฉุดขึ้นอีกแต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ขณะนั้นมีอาจาร์ยผู้หนึ่งซึ่งมีความเชี่ยวชาญทางไสยศาสตร์ ได้ทำพิธีตั้งศาลเพียงตาบวงสรวง แล้วเอาด้ายสายสิญจน์คล้องพระหัตถ์ของพระพุทธโสธรอาราธนาอัญเชิญขึ้นฝั่งได้ และได้อาราธนาไปประดิษฐานในพระวิหารวัดโสธรได้สำเร็จสมตามความปรารถนา จัดให้มีงานฉลองสมโภชอย่างใหญ่โตมโหฬารขึ้น ตรงกับบวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ และถวายนามตามชื่อวัดว่า หลวงพ่อพุทธโสธร พระพุทธโสธรนี้เมื่อได้มาครั้งแรกเป็นพระพุทธรูปทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๑ ศอก เป็นพระพุทธรูปที่มีทรวดทรงงดงามมาก ครั้นต่อมาพระสงฆ์ในวัดนั้นเห็นว่าต่อไปภายหน้าฝูงชนที่มีใจบาปหยาบช้าเสื่อมจากศีลธรรม จะนำเอาไปทำประโยชน์ส่วนตัว กลัวจะไม่ปลอดภัย จึงได้เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์พระพุทธรูปเสีย เพื่อลวงตาเป็นพระพุทธรุปปูนธรรมดา หลวงพ่อพุทธโสธรนี้มีอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์มากมายนัก ได้มีผู้คนไปนมัสการอธิษฐานบนบานขอให้คุ้มครองรักษาโรคภัยไข้เจ็บนานาประการ ปีหนึ่งๆ จะมีชาวไทยและชาวจีนทั่วทุกทิศานุทิศไปแก้บนกันมากต่อมาก กิตติศัพท์ของหลวงพ่อพระพุทธโสธรจึงได้แพร่สะพัดเลื่องลือไปทั่วทุกมุมเมือง เป็นที่รู้จักกันดีของมวลพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย คณะกรรมการวัดจึงได้จัดให้มีงานนมัสการหลวงพ่อพระพุทธโสธร : -
๑. งานเทศกาลกลางเดือน ๕ เริ่มวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ถึงแรม ๑ ค่ำ
๒. งานเทศกาลกลางเดือน ๑๒ เริ่มวันขึ้น ๑๒ ค่ำ ถึงแรม ๑ ค่ำ
๓. งานเทศกาลตรุษจีน เริ่มงานตามจันทรคติของจีน วันขึ้น ๑ ค่ำ (ชิวอิด) ถึงขึ้น ๕ ค่ำ (ชิวโหงว) 

พระสิวลีเถระ (พระฉิม)

 พระสิวลีเถระ เป็นสาวกผู้ใหญ่องค์หนึ่งในจำนวน ๘๐ องค์ เป็นผู้ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ คือเป็นผู้เลิศในทางมีลาภสักการะมาก พุทธศาสนิกชนนิยมเรียกท่านสั้นๆ ว่า พระฉิม ประวัติความเป็นมาของท่านมีหลักฐานปรากฎอยู่ในธรรมบทภาค ๔ ดังจะชี้ให้เห็นย่อๆ ดังนี้ 






พระสีวลีเถระเดิมเป็นพระโอรสของพระนางสุปปะวาสา ราชธิดาของพระเจ้ากรุงโกลิยะเชื้อพระวงศ์ฝ่ายพระมารดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อยังปฎิสนธิอยู่ในครรภ์ของพระมารดา ก็ปรากฎว่าพระมารดาเป็นผู้อุดมด้วยลาภสักการะนานาประการ ท่านอยู่ในครรภ์นานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน เพราะบุพพกรรมที่สร้างไว้แต่บุเรชาติปางก่อน เมื่อครั้งที่ท่านเสวยราชย์เป็นกษัตริย์ชาตินักรบได้ยกกองทัพไปล้อมเมืองอริราชศัตรูนานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน จึงไดอยู่ในครรภ์มารดานานเท่ากับกรรมที่ล้อมเมืองไว้ เป็นการชดใช้กรรมเก่า เมื่อถึงคราวประสูติได้โดยง่าย ดุจเทน้ำออกจากหม้อฉะนั้น พระประยูรญาติทั้งหลายจึงได้ถวายพระนามว่า สิวลีกุมาร








เมื่อท่านเจริญวัยเติบโต ก้ได้ออกบวชในพุทธศาสนา ในสำนักของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ขณะที่ปลงพระเกศาก็ได้พิจารณาตะจะปัญจกะกัมมัฎฐานตามที่อาจาร์ยสอน เมื่อปลงพระเกศาเสร็จก็ได้บรรลุพระอรหัตผลเป็นอเสขะบุคคลในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมาลาภสักการะก็ไหลมาเทมายังท่านอย่างมากมาย พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายได้อาศัยลาภสักการะที่เกิดขึ้นจากท่านเลี้ยงชีพด้วยความสุขกาย ดังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับลาภสักการะที่เกิดจากท่านดังนี้








ในกาลครั้งหนึ่ง พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์พุทธบริวารเป็นอันมาก มีพระสารีบุตรเป็นต้น ได้เสด็จไปยังป่าไม้สะแก อันเป็นที่พำนักพักพิงอาศัยบำเพ็ญวปัสสนากรรมฐานของท่านพระเรวตะ ซึ่งเป็นน้องชายคนเล็กของพระสารีบุตร เมื่อเสด็จพุทธดำเนินถึงทางสองแพร่ง พระอานนท์พุทธอุปัฎฐากได้กราบทูลว่า ทางหนึ่งเป็นทางอ้อม มีมนุษย์อาศัย พระภิกษุสงฆ์ไม่ลำบากด้วยภตกิจ อีกทางหนึ่งเป็นทางตรง เป็นป่าดงรกรฎ ไม่มีมนุษย์อาศัย เต็มไปด้วยภยันตรายจากมนุษย์และสัตว์ร้ายทั้งปวง พวกเราควรไปทางไหน พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า พระสิวลีมากับพวกเราด้วยมิใช่หรือ ดังนั้นจงถือเอาทางตรงนั่นแหละ เพราะพวกเทพยดา และอมนุษย์จะทำการสักการะบูชาแก่พระสิวลี ทุกระยะทางจะสะดวกสบายด้วยภัตตาหารและที่พักอาศัย พระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์ก็เสด็จไปทางตรงนั้น และสะดวกสบายด้วยภัตตาหารและที่พักทุกระยะทาง เพราะผลบุญบารมีของพระสิวลีองค์เดียว








พระสิวลีเป็นผู้มีบุญญาธิการในทางลาภสักการะอย่างน่าอัศจรรย์ ท่านโบราณจารย์จึงนิยมสร้างรูปของพระสิวลีในแบบพระธุดงค์รัดประคตอก ห่มดอง มือขวายกขึ้นเสมออกถือด้ามกลด ไว้ตัวกลดลงบนบ่า ที่จะงอยบ่าคล้องสะพายบาตร มือซ้ายถือตาละปัตร ถ้าผู้ใดมีไว้สักการะบูชาประจำบ้าน จะนำโชคลาภมหาศาลมาสู่ท่าน จะออกจากบ้านไปค้าขายยังแห่งหนตำบลใด ก็ให้ภาวนาพระคาถาและบูชาพระสิวลีเสียก่อนทุกครั้งท่านจะซื้อง่ายขายคล่องดีนัก หรือท่านจะติดต่อธุรกิจการที่เกี่ยวกับเงินทองใดๆ ก็จงท่องบ่นภาวนาพระคาถาและบูชาพระสิวลีเสียก่อนเสมอ ธุรกิจของท่านจะประสบความสำเร็จและราบรื่นดีนัก








คาถาบูชาพระสิวลี




สิวะลี จะ มะหาเถโร เทวะตา นะระปูชิโต




โส ระโห ปัจจยาทิมหิ สิวะลี จะมะหาเถโร




ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ 




อะหัง วันทามิ สัพพทา สิวะลี เถรัสสะ เอตัง




คุณัง สะวัสติลาภัง ภะวันตุ เม

หลักการใช้ธูปบูชา

บางคนบางท่านอาจจะไม่ทราบ จำนวนธูปที่ใช้ในการจุดไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในกรณีต่างๆ 


ธูป 1 ดอก ใช้ไหว้ผี และวิญญาณ
ธูป 2 ดอก ใช้บูชาเจ้าที่
ธูป 3 ดอก ใช้บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ธูป 5 ดอก ใช้บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และพระคุณของบิดามารดา
ธูป 5 ดอก ใช้ไหว้พระภูมิ
ธูป 7 ดอก ใช้ไหว้พระพรหม
ธูป 9 ดอก ใช้บูชาแก้าเก้าประการ พระพุทธคุณทั้งเก้าและพระเทพารักษ์
ธูป 12 ดอก ใช้บูชาพระคุณของคุณแม่
ธูป 16 ดอก ใช้บูชาพระอิศวร 16 ชั้นฟ้า
ธูป 19 ดอก ใช้บูชาเทวดาทั้งสิบทิศ
ธูป 21 ดอก ใช้บูชาพระคุณของคุณพ่อ
ธูป 32 ดอก ใช้สวดชุมนุมเทวดาทั้ง 4 ทิศ
ธูป 108 ดอก ใช้บูชาสิ่งที่สูงสุด ทั่วทั้งโลกทุกชั้นฟ้า

เทพนิยายแม่ศรีโภสพ


 อธิบายหลักฐานความเป็นมาของต้นข้าว พิธีกรรมอันกระทำในท้องนา ตลอดจนคาถาอาคมอันคนโบราณเชื่อถือ และให้ทำพิธีในท้องนา แต่งขึ้นด้วยสำนวนเทศนาโวหาร มีความไพเราะดังเทพนิยาย


เทพนิยายแม่ศรีโภสพ
อันองค์นางแม่ศรีโภสพนพเก้านี้ เดิมที่เป็นนางฟ้าอยู่บนสวรรค์ ทรงนามว่านางสวเทวี เป็นสนมเอกขององค์สมเด็จอัมรินทราธิราช นางนี้มีผิวพรรณเป็นทองและมีกลิ่นพระวรกายหอมเหมือนเกษรดอกไม้ จึงได้รับหน้าที่เป็นเทพธิดาผู้รักษาสวนสวรรค์ สำหรับเก็บดอกไม้นำไปถวายสมเด็จอัมรินทราธิราช เพื่อให้พระองค์ได้ทรงบูชาพระรัตนตรัย ในวันพระ ๘ ค่ำ ๑๔ - ๑๕ ค่ำ
อยู่มาวันหนึ่ง ครั้นถึงวันอุโบสถปักขคณนา แม่เทพธิดาศรีโภสพเจ้า จึงเข้าไปสู่สวนสวรรค์เลือกเก็บพรรณบุปผาชาติ อันกำลังเบ่งบานตระการตา บรรจงจัดใส่ไว้ในพานทอง ทำให้วิจิตรสวยสดงดงามแล้ว นางแก้วก็ตกแต่งพระวรกายให้จำเริญตา เหาะเคลื่อนคล้อยลอยออกจากวิมานทองตรงไปสู่เวชยันตรมหาปราสาท อันองค์สมเด็จอัมรินทราธิราชประทับอยู่ เจ้าโฉมตรูจึงน้อมกายเข้าไปกราบถวายบังคม แล้วทูลถวายพานดอกไม้ดังเคยมา
อถโข สกโก เทวราชา ครั้งนั้นแล สมเด็จพระอัมรินทราธิราช พระบาทท้าวเธอได้ทรงเพ่งพระเนตรดูองค์นางแม่ศรีโภสพนพเก้า ได้ทรงพิจารณาเห็นผิวพรรณของนางนั้นเศร้าหมอง จึงตรัสบอกแก่นางน้องว่า ภทเท ดูก่อนเจ้าผู้มีพักตร์ผ่องเพียงดังเพ็ญจันทร์ กึนุโข กระไรหนอน้องผิวทองของเจ้าจึงเศร้านัก ขอน้องรักพึงทราบเถิดว่า บุญกุศลอันดลบันดาลให้เจ้าได้เกิดมาเป็นนางสวรรค์นี้กำลังจะหมดไปแล้ว ขอให้น้องแก้วเร่งแสวงบุญเสียใหม่ ถ้ามิฉะนั้นจะมิได้อยู่บนสวรรค์ด้วยกัน
อถ สา โภสวเทวธีดา ครั้งนั้นแล แม่เทพธิดาศรีโภสพเจ้าได้ฟังมูลเค้าคดีอันจะมีแก่นางแล้ว นางแก้วก็หาได้หวั่นไหวหรือตระหนกพระทัยไม่ ด้วยนางได้เคยพิจารณาสังขารอยู่มิได้ขาดตกอยู่ในความไม่ประมาทเสมอมา เจ้าขวัญตาจึงทูลถามขึ้นว่า เทวราช ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นเจ้าจอมทัพแห่งเทพเจ้า เมื่อเหตุเกิดขึ้นเช่นนี้เล่า สมเด็จพระจอมเกล้าจะให้้หม่อมฉันทำอย่างไร ท้าวสหัสสนัยจึงตรัสว่า ไม่ยากดอกน้อง ในสมัยที่เจ้ารูปทองยังเป็นมนุษย์ เรามีจิตใจใสบริสุทธิ์เป็นอันมาก ได้เคยบริจาคผ้าผ่อนแพรพรรณแก่ชาวโลกเขา บุญจึงส่งให้ได้มาเกิดเป็นนางฟ้าที่มีผิวพรรณเป็นทอง แต่เดี๋ยวนี้บุญของน้องกำลังจะหมดไปแล้ว ขอเชิญน้องแก้วจงเร่งลงไปแสวงบุญเสียใหม่ แต่การลงไปครั้งนี้เจ้าไม่ต้องให้ผ้าผ่อนแพรพรรณอีกแล้ว ขอเชิญน้องแก้วแม่จงเสียสละเนื้อหนังมังสาอันเป็นทองของเจ้านี้ให้แก่ชาวโลกผู้อดอยาก เมื่อเขาได้กินเนื้อหนังมังสาของเจ้าแล้ว จักได้มีอายุยืนนานสืบเผ่าพันธุ์ ลูกหลานต่อไป
แม่โภสพรับคำของพระอิทนร์แล้ว นางแก้วก็ถวายบังคมลา เหาะเคลื่อนคล้อยลอยฟ้ากลับไปสู่สวนสวรรค์ เจ้าแจ่มจันทร์เลือกเก็บดอกมณฆาทิพย์ในสวนสวรรค์ ครั้นได้เต็มสองอ้อมแขนของนางแล้ว นางแก้วจึงเหาะเคลื่อนลอยลงจากฟากฟ้าสวรรค์ตรงไปสู่ป่าหิมพานต์ อันเป็นที่อยู่ของพระฤาษีประไลยโกฎิ ด้วยความปรารถนาจะขอพึ่งใบบุญของพระฤาษีให้ช่วยนางเลี้ยงโลก แต่ในขณะที่นางเหาะลงไปถึงนั้น เป็นเวลาที่พระฤาษีกำลังเข้าฌานเจริญเตโชสมาบัติ ด้วยพระฤาษีประไลยโกฎินี้ มีปกตินั่งหลับอยู่ตลอดกาล จะลืมตาครั้งเดียวเท่านั้นในปีหนึ่ง คือเมื่อถึงฤดูดอกไม้ในป่าหิมพานต์บาน ฤาษีจะออกจากฌานแล้วลืมตาถ้ายังมิได้ออกจากฌานลืมตาเมื่อใดไฟจะลุกออกจากดวกตาไหม้ป่าหิมพานต์หมด พวกเทพยดา อสุรีคนธรรพ์ จึงขนานนามฤาษีนี้ว่า พระฤาษีตาไฟ
ในขณะที่นางแม่โภสพนพเก้าเหาะลงไปถึงพระฤาษีนั้น เป็นเวลาที่พระฤาษีกำลังเข้าฌาน นางจึงเหาะเวียนขวา ๓ รอบ ทำปทักษิณพระฤาษีด้วยความเคารพ แต่เพราะเหตุที่กลิ่นกายนางหอมและดอกไม้สวรรค์ที่นางอุ้มไปก็หอมด้วย กลิ่นหอมจึงโชยตามลมไปกระทบฤาษี พระฤาษีนั่งหลับตาอยู่เมื่อได้กลิ่นดอกไม้ จึงนึกอยู่แต่ในใจว่า เอ! ดอกไม้อะไร หนอ! บาน ฤดูนี้ในป่าหิมพานต์ก็ไม่เคยเห็นมีดอกอะไรบานเลย มันหอมดอกอะไร? เมื่อแม่โภสพเหาะวนขวา ๓ รอบแล้ว นางแก้วจึงนอบกายคลานเข้าไปตรงหน้าพระฤาษีวางดอกไม้ลงประนมมือก้มเศียรลงกราบ โดยเหตุที่กลิ่นกายของนางหอมดังกล่าวแล้ว และดอกไม้สวรรค์ก็หอมด้วย เมื่อเข้าไปอยู่ใกล้เฉพาะหน้าฤาษี กลิ่นนั้นจึงหอมแรงเข้าไปกระทบจมูกของท่านพระฤาษีจึงพลันลืมตาโดยที่ยังไม่ได้ออกฌาน ด้วยอำนาจแต่โชสมาบัติ จึงบังเกิดเป็นไฟประไลยกัลป์ลุกออกจากดวงตา ไหม้เผาผลาญองค์แม่ศรีโภสพนพเก้าพร้อมด้วยดอกไม้ ให้กลายเป็นขี้เถ้าหล่นกองอยู่ตรงหน้า
พระฤาษีจึงออกจากฌาณ นั่งมองดูกองขี้เถ้าด้วยความสงสาร นึกอยู่แต่ในใจว่า อโห วต โอ! หนอ ใครมันมาหาเรา อนิจจาน่าสงสาร ยังไม่ทันได้พูดกันคำหนึ่งเลยตายเสียแล้ว อย่าเลยเราจะลองชุบขึ้นมา เขาคงจะเดือดร้อน ถ้าฉะนั้นแล้วก็คงไม่มาหาเรา ท่านจึงหยิบเอาคณโฑน้ำทิพยมนต์ลงมาไว้ในมือ ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าผู้ใดมาหาข้าพเจ้าขอให้ฟื้นคืนกายขึ้นมาเถิด ว่าแล้วก็รดน้ำมนต์ลงไปบนกองขี้เถ้านั้น ก็พลันบังเกิดเป็นกอข้าวตั้งขึ้นมา แตกดอกออกรวงเหลืองอร่ามแต่มีอยู่เมล็ดเดียวใหญ่เท่าลูกฟัก ในพระคัมภีร์มหาภารตะอันเป็นรากเง่าของคัมภีร์ไตรเพทเพทางค์กล่าวไว้ว่า ข้าวเมล็ดนั้น อฏฐงคาวุตต มีความกว้าง ๘ นิ้ว โสฬสงคาวุตต มีความยาว ๑๖ นิ้ว นับว่าใหญ่โตกว่าเมล็ดข้าวในปัจจุบันทุกวันนี้มาก พระฤาษีนั่งมองดูกอข้าวด้วยความสงสัย คำนึงคิดดูอยู่แต่ในใจว่านี่มันเป็นเหตุอันใดหนอ! เมื่อเราลืมตามองเห็นแวบหนึ่งว่ามันเป็นผู้หญิง แต่ไฉนเมื่อชุบขึ้นมาแล้วจึงกลายเป็นต้นหญ้าไป และหญ้าอย่างนี้ก็ไม่เคยเห็นมีในป่าหิมพานต์นี้เลย นี่มันเป็นต้นอะไรหนอ! หรือว่าคาถาอาคมและตะบะฌานนี้เสื่อม
ความจริงแม่โภสพนั้นมิได้ตาย ด้วยเหตุที่นางเป็นเทพธิดาย่อมมีวิญญาณอันเป็นทิพย์ จะไม่มีอาวุธใดๆ ประหัตประหารให้นางตายได้ นอกจากจะจุติเองเพราะหมดบุญนางจึงไม่ตายด้วยอำนาจไฟเผาผลาญนั้น แต่เพราะเหตุที่นางต้องการจะเลี้ยงโลก จะเนรมิตตนเองเป็นต้นข้าว เพื่อจะถวายรวงทองของนางนั้นให้แก่ฤาษี เมื่อนางมองเห็นพระฤาษีนั่งตะลึงเฉยในท่าคำนึงคิดอยู่เช่นนั้น นางจึงคืนร่างกายออกจากกอข้าวกลายเป็นเทพธิดาเข้ามาก้มกราบพระฤาษีแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้าเจ้านี้เป็นนางฟ้าอยู่บนสวรรค์ ชื่อโภสวเทวี เป็นสนมเอกขององค์อัมรินทร์ทราธิราช แต่บัดนี้จะหมดบุญ พระอินทร์ตรัสใช้ให้ลงมาเลี้ยงโลก แต่ข้าเจ้ามีบุญน้องฤทธาศักดานุภาพก็น้อยด้วย ใคร่จะมาขอกราบเท้าเจ้าประคุณกรุณาโปรดเอ็นดูช่วยชาวโลก ข้าพเจ้าขอถวายเม็ดรวงทองข้าพเจ้านี้แก่พระผู้เป็นเจ้าได้โปรดแจกจ่ายแก่ชาวโลกเพื่อเป็นอาหาร เขาได้รับประทานเมล็ดรวงทองอันเป็นเหมือนเนื้อหนังมังสาของข้าพเจ้า จักได้สืบลูกหลานต่อไป
พระฤาษีจึงว่า เออดีทีเดียวแม่เทพธิดา ความคิดของเธอดีมาก ฉันขอสรรเสริญเมตตาจิตของเธอยิ่งนัก แต่ก็ยังรู้สึกหนักใจว่า อันเมล็ดรวงทองอะไรของเธอนี้ ดูมันใหญ่โตเหลือเกิน เกรงจะลำบากแก่ชาวโลก เราจะจัดสรรปันส่วนเสียใหม่เธอจะเอาหรือไม่ แม่โภสพจึงว่า สุดแต่พระคุณเจ้าเถิด ข้าพเจ้าถวายเป็นสิทธิ์ขาดแก่พระคุณเจ้าแล้ว จะทำอย่างไรก็นิมนต์เถิด พระฤาษีจึงว่า ถ้าอย่างนั้น ขอเชิญแม่เทพธิดาศรีโภสพเจ้า จงคืนร่างเข้าสู่ต้นข้าว จักได้เป็นเทพเจ้าช่วยกันรักษาไร่นาสืบไป แม่ศรีโภสพจึงคืนร่างเข้าสู่ต้นข้าวกลายเป็นเทพเจ้ารักษาท้องนามาจนกระทั่งทุกวันนี้
เมื่อแม่โภสพเข้าไปสถิตประจำกอข้าวแล้ว พระฤาษีจึงหยิบเอาไม้เท้าอันเรืองฤทธิ์เข้ามาไว้ในมือ พลางอธิษฐานว่า ขอเดชะ หากบุญญาภิสมภารอันข้าพเจ้าได้จำศีลภาวนามานับเป็นเวลาหลายหมื่นปี บุญอันนี้ขอข้าพเจ้าหากจะได้สร้างคู่กับแม่ศรีโภสพนี้บ้างก็ขอให้ไม้เท้าอันข้าพเจ้าจะตีลงไปบนเมล็ดข้าวนี้ จงสำแดงฤทธิ์ให้แตกกระจายเถิด เมื่อสิ้นคำอธิษฐานแล้ว ท่านจึงเงื้อไม้ไล่ตีลงไปบนเมล็ดข้าวนั้น ด้วยแรงอธิษฐานเมล็ดข้าวนั้นก็แตกกระจายเป็นแมลงเม่าปลิวไปตกทั่วภาคพื้นแผ่นดิน มนุษย์เราจึงเก็บทำพืชพันธุ์ ธัญญาหารเลี้ยงลูกหลานมาจนกระทั่งวันนี้
บุญคุณของแม่โภสพนี้ จึงมีแก่พวกเราเหลือล้นพ้นคณา วันไหนเรามิได้กินเนื้อหนังมังสาของท่าน ก็แทบจะเอาชีวิตไม่รอด นับจากนับที่เราจากหัวนมแม่มาก็ใครเล่าเลี้ยงเรามาจนทุกวันนี้ มิใช่แม่โภสพดอกหรือ เหตุไฉนท่านเป็นมนุษย์โดยเฉพาะท่านเป็นชาวนา ทำไมไม่บูชาแม่โภสพเล่า ไร่นาของท่านจะเจริญได้อย่างไร อย่าว่าแต่ท่านซึ่งเป็นชาวนาจะต้องบูชาแม่โภสพ แม้แต่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ยังทรงบูชาแม่โภสพทุกๆ ปี พอถึงเดืนอ ๖ ทรงทำพิธีแรกนาขวัญ นั่นคือพิธีวิงวอนแม่โภสพ ที่เราเรียกกันว่า วันพืชมงคล รัฐบาลหยุดงานหนึ่งวัน สถานที่ราชการปิดหมดทั่วประเทศ เพื่อให้ทุกคนได้ทำพิธีบูชาแม่โภสพ อย่าว่าแต่พระเจ้าแผ่นดินซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศจะทรงบูชาแม่โภสพเลย แม้แต่เทวดาบนฟ้ายังคงต้องบูชาให้ความเคารพนบไหว้แม่โภสพ คงจะเห็นได้ว่าในฤดูแล้งอันเป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว เดือน ๔-๕-๖ ดวงตะวันหรือด้วยอาทิตย์เทพเจ้า จะเด่นดวงขึ้นทางตะวันออกในเวลาเช้า และลอยข้ามท้องฟ้าไปตกลับดวงทางตะวันตกเป็นนิจสินเสมอมา แต่ในฤดูเดือน ๑๐ เดือน ๑๑ อันเป็นฤดูที่ข้าวในนาของเราตั้งท้อง ท่านเคยเห็นดวงอาทิตย์ลอยข้ามฟากฟ้ามีบ้างไหม ท่านจะไม่เคยได้เห็นเลย พอดวงตะวันโผล่ออกมาจากขอบฟ้าตามปกติแล้ว สายส่องแรงกล้าสักหน่อยหนึ่งก็จะลอยอ้อมท้องฟ้า ไม่กล้าลอยผ่านในทางที่เคยมาเพราะเกรงใจแม่โภสพกำลังตั้งท้อง ซึ่งเราเรียกกันว่าตะวันอ้อมข้าวมองเห็นตำตากันอยู่ทุกคน เพราะฉะนั้นท่านเป็นชาวนาจงเร่งบูชาแม่โภสพกันเถิด แม่เทพธิดาผู้มากไปด้วยความปรานีองค์นี้จะได้ช่วยเรา ให้ได้ข้าวในนาสมบูรณ์ พึงคิดถึงบุญคุณแม่โภสพ และทำให้ถูกต้องตามตำหรับตำราซึ่งมีมาแต่โบราณกาลอันได้รวบรวมไว้ในพระคัมภีร์นี้แล้ว ขอความสุขขอความเจริญจงมีแด่ท่านผู้ที่บูชาแม่โภสพ จงทั่วทุกๆ ท่านเทอญ


การแรกไถนา
เมื่อวันวันแรกไถนา ให้จัดไถเทียมควาย แล้วนอนไถไว้กับพื้นนา นั่งลงประนมมือกว่าวคำฝากแม่พระธรณีว่า แม่พระธรณีเจ้าค่าเอ๋ย อยู่แล้วรึยัง ยังสังขาตัง โลกัง กะวิทู ขอพระแม่เจ้าจงรู้ ข้าขอฝากพืชพันธุ์ ธัญญาหารไว้กับพระแม่เจ้าในวันนี้ ขะมะตุเม โทสัง เสร็จแล้วจึงจับหางไถ ทำสัญญาณให้ควายเดิน เมื่อไถเวียนไปครบ ๓ รอบแล้ว ให้นอนไถไว้กับท้องนาปล่อยควายออกจากไถ เลิกไม่ไถอีกในวันนี้ การทำดังนี้เรียกว่า ทำปทักษิณ ขอขมาแม่ธรณี ใครทำได้ดังนี้จะเจริญสุขร่ำรวยดีนักแล


การแรกหว่าน
โบราณท่านว่า วันแรกไถ คือวันอาทิตย์ แต่วันแรกหว่าน ท่านใช้วันจันทร์ เพราะฉะนั้นพอถึงวันจันทร์ให้เตรียมข้าวปลูกที่หว่านกล้าก็ดี ใส่กระบุงออกมาให้พ้นชายคาอัญเชิญแม่โภสพมาวางในกระบุงข้าวปลูก หาน้ำอบน้ำหอมมาพรม จุดธูป ๓ ดอก ปักไว้ในข้าว แล้วกล่าวคำอัญเชิญว่า ข้าแต่พระศรีโภสพเจ้า วันนี้เล่าเป็นวันดีขอเชิญแม่ศรีไปสู่ท้องนา ข้าขอขมาต่อแม่ศรีโภสพ แล้วว่าคาถา คาโว ตัสสะ ปะชายันติ เขตเต วุตตัง วิรูหะติ วุตตานัง ผะละมัสนาติ โยมิตตานัง นะทุพภะติ เสร็จแล้วยกองค์แม่โภสพกลับคืนไปหิ้งบูชาอย่างเดิม จึงเอาข้าวปลูกไปหว่านในนา ใครทำได้ดังนี้ข้าวในนาจะมีลำต้นแข็งแรงแตกดอกออกรวงดีนักแล








การทำขวัญข้าวเมื่อข้าวตั้งท้อง




สิทธิการิยะ เมื่อข้าวในนาของเราตั้งท้องแล้ว ท่านก็ให้กำหนดเอา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นวันทำขวัญข้าว วันนั้นเป็นวันพระออกพรรษา โบราณว่าเป็นวันที่แม่โภสพแพ้ท้อง




ผู้จะทำขวัญข้าว ต้องไปเก็บผลไม้ที่ใส่บาตรพระในวันนั้น จะเป็นส้มเป็นกล้วยก็ได้ แต่ไม่ให้เก็บเอาขนมหรือข้าวต้มเพราะแม่โภสพไม่กินเนื้อของตนเอง เมื่อได้ของต้องประสงค์แล้ว ให้หาชะลอมลูกน้อยๆ ใส่ของเหล่านี้ ทำธงแดงธงขาวด้วยกระดาษอย่างละอันด้ายแดงด้ายขาวอย่างละเส้น ธูป ๕ ดอก เทียน ๑ เล่ม เมื่อจัดของเสร็จแล้วให้เชิญองค์แม่โภสพจากหิ้งบูชา อุ้มไปสู่ท้องนา เมื่อถึงแล้วให้เลือกกอข้าวใหญ่ๆ งามๆ สัก ๑ กอหาไม้มาปักข้างๆ กอข้าว เอาด้ายแดงด้ายขาวผูกกอข้าวติดกับไม้ เอาชะลอมผูกปลายไม้ ปักธงแดงธงขาวไว้ข้างๆ กอข้าวทั้งสองข้าง หาอะไรมาตั้งองค์แม่โภสพแล้วจุดธูปเทียนปักไว้ตรงหน้า แล้วกล่าวคำขวัญข้าวว่า ศรี ศรี มินีมานะ อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ มาเส มาเส ข้าพเจ้าจะขออัญเชิญคุณแม่พระโภสพ ๔๙ คุณพระพุทธเจ้า ๕๖ คุณพระธรรมเจ้า ๓๘ คุณพระอริยสงฆ์เจ้า ๑๔ ขออัญเชิญแม่ศรีโภสพนพเก้า เชิญแม่มารับเครื่องสังเวยซึ่งเคยมีมาแต่ครั้งฤาษีประไลยโกฎิ พระคุณของแม่เคยโปรดสัตว์โลกทั่วหน้า ให้อุดมด้วยภักษาหาร เชิญแม่มารับประทานในวันนี้ ลูกจัดพิธีมาพร้อมแล้ว ขอเชิญองค์แม่โภสพกลับบ้าน เสร็จแล้วประฌมมือนบนิ้วไหว้ ๓ ครั้ง อัญเชิญแม่โภสพกลับบ้าน










การเกี่ยวข้าว




สิทธิการริยะ เมื่อข้าวออกรวงเหลืองอร่ามถึงคราวจะเก็บเกี่ยวแล้ว ก่อนจะออกจากบ้านให้นำเคียวทั้งหมดไปวางไว้หน้าองค์แม่โภสพ แล้วกล่าวคำขอขมาว่า อมมะ โภสะวะเทวี ขะมะตุเม โทสัง ข้าแต่แม่ศรีโภสพเจ้า วันนี้เล่าลูกจะไปเกี่ยวเก็บเอารวงทองของแม่เจ้า ขอแม่อย่าโกรธอย่าได้ลงโทษลูกเลย เสร็จแล้วให้ถือเคียวออกไปนา เมื่อจะเกี่ยวให้ประฌมมือไหว้ ใช้มือซ้ายจับต้นข้าว มือขวาจับเคียว ให้กลั้นใจกล่าวคำว่า อมมะ โภสะวะเทวี ขะมะตุเม โทสัง แล้วจึงเกี่ยว ใครทำได้ดังนี้ ท่านว่าแม่โภสพจะรักษาตัวท่านให้พ้นจากสัตว์ร้ายนานา ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน










การเก็บข้าวเข้ายุ้งฉาง




เมื่อนวดข้าวเสร็จแล้ว จะนำไปสู่ยุ้งฉาง ให้เลือกเอาวันพฤหัสบดี เมื่อเก็บข้าวไปไว้ในยุ้งฉางแล้ว ห้ามมิให้ตัดออก จนกว่าจะได้ทำขวัญข้าว หรือแม้เมื่อทำขวัญข้าวแล้วก็ห้ามมิให้ตักข้าว ไม่ว่าจะตักขาย หรือตักเอาใส่สีไปกินก็ตาม ห้ามเป็นอันขาด เพราะโบราณถือกันว่า ขวัญของแม่โภสพตกอยู่ในท้องไร่ท้องนา เพราะห่วงลำต้น อนึ่ง ท่านกล่าวว่า แม่โภสพ เกิดวันอาทิตย์ จึงห้ามตักข้าวในวันนั้น พิธีทำขวัญแม่โภสพให้ทำดังนี้ จัดทำบายสีปากชาม ๑ ที่ เทียน ๑ เล่ม ธูป ๕ ดอก ดอกไม้ ๓ สี ขาว เหลือง แดง หมาก ๑ คำ เครื่องแก้ว แหวน เงิน ทอง ตามแต่จะหาได้ กล้วย อ้อย ผลไม้ต่างๆ กระบอกน้ำเล็กๆ ๒ กระบอก กระบอกหนึ่งใส่น้ำมะพร้าวอ่อน อีกกระบอกหนึ่งใส่น้ำธรรมดา ปั้นรูป เต่า ปู ปลา หอยโข่ง กบ แล้วอัญเชิญองค์แม่โภสพลงในถาด หรือกระบุง เอาของที่จัดแล้วทั้งหมดใส่ลงไปด้วย ให้เอาขอฉาย(ไม้สำหรับเขี่ยฟาง) ทำเป็นคานใช้ผ้า ๓ สี คือ ๑ สีกาบบัว ๒ สีเหลือง ๓ สีขาว พาดคลุมหัวขอฉาย หาบหรือคอนไปสู่ท้องนา เมื่อไปถึงแล้วให้หาอะไรมาตั้งองค์แม่โภสพ เอาของต่างๆ วางไว้ข้างหน้า จุดธูปเทียนประฌมมือ กล่าวคำเรียกขวัญว่า










คำเชิญขวัญข้าว




ศรี ศรี วันนี้เป็นวันดี ลูกขอน้อมเกศี อัญเชิญคุณของแม่โภสพ เชิญคุณของแม่มารวบรวมบรรจบให้ครบถ้วน พระคุณของแม่ทั้งมวลจงมาช่วยเลี้ยงลูกในเคหา ขวัญของแม่ตกอยู่ในหย่อมหญ้าริมลำธาร ขวัญของแม่ต้องทนทุกข์ทรมานด้วยเปือกตมจมโคลนถูกลมพัดต้นหักโค่นขาดสลาย ขวัญของแม่กระจายด้วยลมพระพายมาพดพานถูกน้ำซัดเที่ยวเร่ร่อน เชิญแม่ทองเนื้ออ่อน แม่กลับมาชมพวงเงินพวงทองและแก้วแหวนขวัญของแม่นับหมื่นแสน เชิญเสด็จมารวมกันเถิดหนา แม่ทูลกระหม่อมแก้ว ลูดจักเครื่องสังเวยมารับแล้วพร้อมด้วยบริวารอนมีศรี เชิญแม่ช่อมาลีสีจำปาสง่างาม ขวัญของแม่อย่าเข็ดขาม ขอจงเสด็จลงมาตามเสียงลูกเรียกหา




(โห่ ๓ ครั้ง) ศรี ศรี มามามิมิ อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ แม่ทูลกระหม่อม จอมเกล้าของลูกเอย ขวัญของแม่อย่าหลงใหลไปไกล เชิญแม่เสด็จมาชมบายศรี เครื่องบัตรพลีที่ลูกจัดไว้ ผ้าสีทองงามผ่องใสขอเชิญทรงสไบทิพย์ภูษา ทั้งแก้วแหวนเงินทองของมีค่าลูกจัดมารับพร้อมเสร็จ ขอเชิญขวัญเสด็จลงมาสู่ที่สำอางทั้งอาหารและน้ำสรง ลูกบรรจงจัดให้สวย ขวัญของแม่อย่าช้าเลย เชิญเสวยให้สบาย




เสร็จแล้วเก็บเม็ดข้าวที่ร่วงหล่นในท้องนาสักเล็กน้อยใส่กระบุง เอาแม่โภสพวางลงเอาขอฉายทำคานหาบ เอามาวางไว้ในยุ้งให้ครบ ๗ วัน แล้วจึงเชิญองค์แม่โภสพไปไว้หิ้งบูชา ต่อจากนั้นจึงจะตักข้าวไปขายหรือไปดำไปสีอย่างใดก็ได้ แต่เวลาจะตักอย่าไปตักวันอาทิตย์ ใครทำได้ดังนี้แม่โภสพจะเลี้ยงรักษาให้มีความสุขความเจริญ ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย จะค้าขายอะไรก็ได้มรรคได้ผลสมความปรารถนาแล. 

ประวัติหลวงปู่แหวน สุจิณโณ

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เกิดในตระกูลของช่างตีเหล็ก เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2430 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน ณ บ้านนาโป่ง ตำบลหนองใน อำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยเป็นบุตรของนายใสกับนางแก้ว รามสิริ โดยมีน้องสาวร่วมบิดา- มารดาอีกหนึ่งคนคือ นางเบ็ง ราชอักษร และบิดามารดาของท่านได้ ตั้งชื่อว่า ญาณ ซึ่งแปลว่า ปรีชา กำหนดรู้ พอท่านมีอายุ ได้ประมาณ 5 ขวบเศษ โยมมารดาของท่านก็ล้มป่วย แม้จะได้รับการดูแลเยียวยารักษาเป็นอย่างดีจากสามี แต่อาการของท่านก็มีแต่ทรงกับทรุด ในที่สุดเมื่อท่านรู้ตัวว่า คงจะไม่รอดชีวิตไปได้แน่แล้วท่านจึงได้เรียกหลวงปู่แหวน เข้าไปใกล้ แล้วกล่าวความฝากฝังเอาไว้ว่า ลูกเอํย...แม่ยินดีต่อลูก สมบัติใด ๆ ในโลกนี้ล้วน กี่โกฎก็ตามแม่ไม่ยินดี แม่จะยินดีมากถ้าลูกจะบวชให้แม่ เมื่อลูกบวชแล้วก็ให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมา มีลูกมีเมียนะ... หลวงปู่แหวนพยักหน้า รับคำเท่านั้น ดวงวิญญาณของท่านก็ออกจากร่างไป มาอีกไม่นาน ดึกสงัดของค่ำคืนวันหนึ่งขณะที่คุณยายของหลวงปู่แหวนกำลังนอนหลับสนิทก็เกิดฝันประหลาด อันเป็นมงคลนิมิตหมายที่ดีงาม ท่านจึงได้นำเอาความฝันมาเล่าสู่ลูกหลานและหลวงปู่แหวนฟัง ในวันรุ่งขึ้นว่า เมือคืนนี้ ยายนอนหลับและได้ฝันประหลาดมาก ฝันว่าเจ้าไปนอนอยู่ในดงขมิ้น จนกระทั่งเนื้อตัวของเจ้าเหลือง อร่ามไปหมด ดูแล้วน่ารักน่าเอ็ดดูยิ่งนัก ยายเห็นว่า เจ้านี้จะมีอุปนิสัยวาสนาในทางบวช ฉะนั้นยายขอให้เจ้าบวชตลอดชีวิต และขอให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมามีลูกมีเมียเจ้าจะทำได้ไหม


จากนั้น วันเวลาผ่านมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2439 ท่านมีอายุได้ 9 ขวบ คุณยายของท่านที่ได้เลี้ยงดูแลเอาใจใส่มาอย่างทะนุถนอม ได้เรียกท่านพร้อมกับ หลานชายอีกคนหนึ่ง ที่เป็นญาติสนิทรุ่นราวคราวเดียวกัน เข้าไปหาแล้วพูดว่า ยายจะให้เจ้าทั้งสองบวชเป็น สามเณร เมื่อบวชแล้วไมต้องสึก เจ้าจะบวชได้ไหม ท่านหันมามองหลวงปู่แหวนอย่างตั้งใจฟังคำตอบ หลวงปู่แหวนก็พยักหน้ารับ พอใกล้เข้าพรรษา คุณยายของท่านจึงได้ตระเตรียมเครี่องบริขาร จนครบเรียบร้อยแล้ว จึงได้พาเด็กชายทั้งสองเข้าถวายตัวต่อพระอุปัชฌาย์ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า เข้าพรรษาเป็นสามเณร ณ วัดโพธิ์ชัย พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นเด็กชาย ญาณ เป็นสามเณร แหวนนับแต่นั้นมา


ตลอดพรรษาที่ได้บรรพชา เป็นสามเณรนั้น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ได้แต่ทำวัตร สวดมนต์ต์บ้างตามโอกาส เท่าที่พระภิกษุและ สามเณร ภายในวัดจะร่วมกันทำสังฆกรรม นอกจากนั้นก็จะใช้เวลา ไปในทางเล่นซุกซนตามประสาเด็ก ในที่สุดพระอาจารย์อ้วน ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่าน มองเห็นว่าหากปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้ จะทำให้สามเณรน้อยไม่มีความรู้ จึงพาไปฝากฝังถวาย เป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม (ที่จริงน่าจะเป็นพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโลมากกว่า เพราะหลวงปู่แหวนเกิด 16 มกราคม 2430 ส่วนพระอาจารย์สิงห์เกิด 27 มกราคม 2432 พระอาจารย์สิงห์อ่อนกว่าหลวงปู่แหวน 2 ปี )ณ วัดบ้านสร้างถ่อ อำเภอกษมสีมา จังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่น่าอัศจรรย์ ขณะที่พระอาจารย์อ้วนกำลังพาสามเณรน้อย เดินฝ่าเปลวแดดสีทองมุ่งหน้าเข้าสู่บริเวณวัดในยามบ่ายนั้น พระอาจารย์สิงห์ขนัง ศิษย์สำคัญสูงสุดของพระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานคือ พระมั่น ภูริทัตโต กำลังมองที่ร่างสามเณรน้อย พลันก็บังเกิดฤทธิ์อำนาจ แห่งอภิญญาณทำให้ท่านเห็นรัศมีเป็นแสงสว่างโอภาส เปล่งประกายออกมาจากร่างของสามเณรน้อยผู้นี้ เป็นผู้ที่มีบุญญาธิการมาเกิด ดั้งนั้นพระอาจารย์สิงห์ จึงได้ถ่ายทอดความรู้ตลอดจนข้อวัตรปฏิบัติทั้งหมดให้


ปี พ.ศ. 2464 ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อศึกษาธรรมกับ ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์
ปี พ.ศ. 2478 ได้เข้าพบ ท่านเจ้า คุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ที่วัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่ ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนจากมหานิกายเป็น ธรรมยุติ และได้รับฉายาว่า สุจิณโณ จากนั้นได้ออกจาริกแสวงบุญต่อ ขณะที่ศึกษาธรรมกับพระอาจารย์มั่นฯ ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ จังหวัดอุบลราชธานี มีศิษย์พระอาจารย์มั่นฯ ที่มีอัธยาศัย ที่ตรงกัน 2 ท่านคือ พระขาว อนาลโย และ พระตื้อ อจลธัมโม เช่นเดียวกับคราวที่ จากท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ก็ได้ พระขาว จาริกแสวงธรรมเป็นเพื่อนจนถึงเมืองหลวงพระบาง
ปีพ.ศ. 2489 หลวงปู่แหวนจำพรรษาที่วัดป่าบ้านปง อ.แม่แตง ในพรรษานั้นท่านอาพาธเป็นแผลที่ขาอักเสบต้องผ่าตัด โดยมีพระหนู สุจิตโต ซึ่งเดินทางมาจากดอยแม่ปั๋งพยายามอยู่ใกล้ๆ เมื่อครบ 7 วัน ต้องกลับไปดอยแม่ปั๋ง เพราะอยู่ระหว่างพรรษา จนกระทั่งเดือนเมษายนในปีต่อมา อาการอาพาธจึงดีขึ้นแต่ก็ยังไม่หายสนิทยังเดินไปไหนไกลๆ ไม่ได้ นับแต่นั้นมาพระหนูได้พยายามอยู่ใกล้ๆ เพื่อดูแลหลวงปู่แหวน ต่อมาพระหนูได้ดำริว่า ปัจจุบันหลวงปู่แหวนมีอายุมากแล้ว ไม่มีพระภิกษุสามเณรอยู่ด้วย เพื่อเป็นอุปัฏฐาก ถ้านิมนต์มาอยู่ที่ดอยแม่ปั๋งก็จะได้ถวายการดูแลได้โดยง่ายไม่ต้องไปๆ มาๆ อยู่อย่างนี้ แต่ก็ต้องเป็นเพียงความคิดของพระหนูเท่านั้น เพราะในเวลาดังกล่าว ดอยแม่ปั๋งยังไม่มีอะไรพร้อมแม้แต่กุฏิก็ยังไม่มี
ปีพ.ศ. 2505 ขณะที่หลวงปู่แหวนมีอายุ 75 ปี คืนวันหนึ่งพระหนูนั่งภาวนาอยู่เกิดเป็นเสียงหลวงปู่แหวนดังขึ้นมาที่หูว่า จะมาอยู่ด้วยคนนะ หลังจากวันที่ได้ยินเสียงหลวงปู่แหวนอีกสามวัน พระอาจารย์หนูได้ถูกนิมนต์ไปที่วัดบ้านปงสถานที่ที่หลวงปู่แหวนอยู่ และถือโอกาสนิมนต์หลวงปู่แหวนมาที่วัดดอยแม่ปั๋งด้วย
เมื่อหลวงปู่แหวนได้มาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งแล้ว ครั้งแรกท่านพักอยู่ที่กุฏิหลังเล็กๆ หลังหนึ่ง การมาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งนี้ ท่านได้มีข้อตกลงกับพระอาจารย์หนูว่า หน้าที่ต่างๆ และกิจทุกอย่างที่มีขึ้นในวัด ให้ตกเป็นภาระของพระอาจารย์หนูแต่เพียงผู้เดียว ส่วนท่านจะอยู่ในฐานะพระผู้เฒ่าผู้ปฏิบัติธรรมจะไม่มีภาระใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนั้นหลวงปู่แหวนจะไม่รับนิมนต์โดยเด็ดขาด แม้ที่สุดถึงจะเกิดอาพาธหนักเพียงใดก็ตาม ท่านไม่ยอมนอนรักษาที่โรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์จะทรงอยู่ต่อไปไม่ได้ก็จะให้สิ้นไปในป่าอันเป็นที่อยู่ ตามอริยโคตรอริยวงศ์ ซึ่งบูรพาจารย์ท่านเคยปฏิบัติมาแล้วในกาลก่อน


นับตั้งแต่หลวงปู่แหวนได้ขึ้นไปทางเหนือ ท่านไม่เคยไปจำพรรษาที่ภาคอื่นเลย เพราะอากาศทางภาคเหนือสัปปายะสำหรับท่าน หลวงปู่แหวนได้มรณภาพลงที่วัดดอยแม่ปั๋งแห่งนี้ เมื่อวันที่ 2 ก.ค.2528 สิริอายุ 98 ปี


"อดีตก็เป็นทำเมา อนาคตก็เป็นทำเมา จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้อยู่ในปัจจุบัน ละอยู่ในปัจจุบันนี้จึงเป็นพุทโธ เป็นธัมโม ปัจจุบันก็พอแล้ว อดีต และอนาคตไม่ต้องคำนึงถึง เกิด แก่ เจ็บ ตาย วัน คืน เดือน ปี สิ้นไป หมดไป อายุเราก็หมดไป สิ้นไป หมั่นบำเพ็ญจิต บำเพ็ญทาน รักษาศีล ภาวนาต่อไป" 

ไหว้พระ 9 วัดที่ไหนจึงเป็นสิริมงคลให้กับตัวเอง

ไหว้พระ 9 วัด เป็นคำเรียกการตระเวนไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัดและศาลเจ้าที่มีชื่อเสียง 9 แห่งในกรุงเทพมหานคร ขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมเพราะเชื่อว่าจะเกิดสิริมงคลตามชื่อของสถานที่ โดยสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ 9 แห่งเหล่านั้นได้แก่


วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร (วัดกัลยา, วัดซำปอกง) เชื่อว่าจะทำให้ "เดินทางปลอดภัยดี มีมิตรไมตรี"
วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร (วัดชนะสงคราม) เชื่อว่าจะทำให้ "มีชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง"
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) เชื่อว่าจะทำให้ "ร่มเย็นเป็นสุขดุจอยู่ใต้ร่มโพธิ์"
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เชื่อว่าจะทำให้ "แก้วแหวนเงินทองไหลมาเทมา"
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร (วัดระฆัง) เชื่อว่าจะทำให้ "ชื่อเสียงโด่งดังดุจเสียงระฆัง"
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดสุทัศน์) เชื่อว่าจะทำให้ "มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีเสน่ห์แก่บุคคลทั่วไป"
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง) เชื่อว่าจะดลให้ "ชีวิตรุ่งโรจน์ทุกคืนวัน"
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร เชื่อว่าจะเป็น "หลักชัยชีวิตใหม่" (ตัดเคราะห์ ต่อชะตา เสริมวาสนา บารมี)
ศาลเจ้าพ่อเสือ เชื่อว่าจะ "เสริมอำนาจบารมี"
อนึ่ง บางตำราจะให้ไปไหว้วัดราชนัดดารามวรวิหาร (วัดราชนัดดา) แทนศาลเจ้าพ่อเสือ ด้วยเหตุที่วัดราชนัดดาเป็น "โลหะปราสาทหนึ่งเดียวในสยาม" 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอัญมณีประจำวันเกิด

วันอาทิตย์ ถูกโฉลกกับอัญมณีเช่น ทับทิม เพชรสีแดง โกเมน
วันจันทร์ ถูกโฉลกกับอัญมณีเช่น มุกดา บุษราคัม อำพัน ไข่มุกสีทอง เพชรสีเหลือง
วันอังคาร ถูกโฉลกกับอัญมณีเช่น เพชรสีชมพู ปะการัง ไข่มุกสีชมพู และโรส ควอตซ์
วันพุธ ถูกโฉลกกับอัญมณีเช่น หยก มรกต กรีน โกเมนสีเขียว
วันพฤหัสบดี ถูกโฉลกกับอัญมณีเช่น โกเมนสีส้ม คาร์เนเลียน ไพฑูรย์
วันศุกร์ ถูกโฉลกกับอัญมณีเช่น ไพลิน บลูโทปาซ
วันเสาร์ ถูกโฉลกกับอัญมณีเช่น หยกดำ นิล โอนิกซ์ 

บุญกุศลช่วยเราได้อย่างไร

1. บุญช่วยเราได้เกิดมาเป็นมนุษย์
2. บุญช่วยให้เราเกิดมามีร่างกายสมประกอบ
3. บุญช่วยเราให้เป็นคนรูปงาม
4. บุญช่วยเราให้เป็นคนเกิดในตระกูลสูง
5. บุญช่วยเราให้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวย
6. บุญช่วยเราให้เกิดมาเป็นคนมีอายุยืน
7. บุญช่วยเราให้เป็นคนแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
8. บุญช่วยเราให้เป็นคนฉลาดตั้งแต่เด็ก
9. บุญช่วยเราให้เป็นคนดี
10. บุญช่วยเราให้มีความสุข
11. บุญช่วยเราให้ได้ลาภต่างๆ อย่างประหลาด
12. บุญช่วยเราให้มียศศักดิ์ ชื่อเสียง มีคนรักเคารพนับถือและบูชาสิ่งท้้ง 7
13. บุญช่วยเราให้เกิดบนสวรรค์
14. บุญช่วยเราให้บรรลุพระนิพพาน




โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี

การเสริมบารมีให้ร้านค้าเจริญรุ่งเรืองขึ้น

การเสริมบารมีร้านค้าให้ถูกวิธี จะโดยการทำบุญก็ดี บูชาพระก็ดี หรือปลูกต้นไม้เสริมบารมีก็ดี เปรียบเสมือนการเริ่มต้นที่ดี ล้วนแล้วแต่เป็นมงคลแก่ร้านทั้งสิ้น


สำหรับร้านอาหาร
เสริมดวง ที่ร้าน ถวายอาหารที่ขายในร้านให้เจ้าที่เจ้าทางแล้วขอพร (ทำในวันเกิดท่าน)
แก้เคล็ด ถวายสังฆทานอุทิศบุญให้สรรพสัตว์ที่ท่านนำมาปรุงอาหารขาย (ทำให้วันพระใหญ่ของทุกเดือน)
บูชาพระ พระแก้วมรกต (ประจำเมือง)
พระประจำวันเกิดท่าน
รัชกาลที่ 5 (รูปภาพทำอาหาร)
ปลัดขลิก
นางกวัก (ถวายน้ำแดง)
ปลูกต้นไม้ ว่านมหาลาภ
ด้านอำนวยโชคเมตตามหานิยม
คาถา มหาลาโภภะวันตะเม 3 จบ




ซุปเปอร์มาร์เก็ต
เสริมดวง นำเทียนแท้หนัก 1 บาท ไปให้เจ้าอาวาสปลุกเสกเป็นนะค้าขาย (นำมาไว้ที่ร้านเพื่อเป็นมงคล)
แก้เคล็ด ไหว้เจ้าที่เปิดทาง (ทำในวันโกน ถวายผลไม้มงคลน้ำบริสุทธิ์)
บูชาพระ หลวงพ่อโสธร
พระประจำวันเกิดเจ้าของ
พระสังกัจจายน์
เจ้าแม่กวนอิม
ปลูกต้นไม้ ว่านสี่ทิศ
ด้านอำนวยโชค 4 ทิศ
คาถา นะค้าขาย ธรรมะค้าขาย เห็นหน้าวาจา เอ็นดู นโมพุทธายะ
ปลูกในวันพฤหัสบดี ขึ้น 9-15 ค่ำ




สถานเสริมความงาม
เสริมดวง บูชาพระที่ร้านด้วยดอกดาวเรืองและดอกกุหลาบแดง (ขอพรทุกวันพระ)
แก้เคล็ด นำทองแผ่น 3 แผ่นไปให้เจ้าอาวาสปลุกเสก เป็นนะค้าขายดี แปะทางเข้าร้าน ที่ใส่เงิน
เทียนลูกโทนปลุกเสกโดยเจ้าอาวาส ไว้ที่ร้านค้าทางเข้า เพื่อเป็นเมตตามหานิยม
บูชาพระ พระพุทธชินราช
พระประจำวันเกิด
หลวงพ่อโต (ปาน)
เจ้าแม่นางกวัก
พระศากยมุณี (วัดสุทัศน์เทพวราราม)
พระแก้วมรกต
รัชกาลที่ 5
หลวงพ่อปาน
เจ้าแม่กวนอิม
เทพต่างๆ
ปลูกต้นไม้ ว่านเสน่ห์จันทร์ขาว
ด้านอำนวยโชค เสน่ห์เรียกคน
คาถา นำค้าขายดิบดี นโม พุทธายะ (3 จบ)
ปลูกวันพฤหัสบดี ขึ้น 3-15 ค่ำ
ว่านกวักแม่ทองใบ
ด้านค้าขายดี
คาถา อุอากะสะ สวดตากำลังวันเกิด
ปลูกในวันพระข้างขึ้น หรือวันพฤหัสบดีข้างขึ้น




ร้านขายยา
เสริมดวง นำน้ำมนต 3 วัดมาประพรมที่ร้าน อธิษฐานขอพรให้เจริญรุ่งเรือง
แก้แคล็ด ตักบาตรตอนเช้า อุทิศให้เจ้าที่บ้านเลขที่....(ที่ทำร้านขายยาอยู่)
ไปไหว้พระวัดโพธิ์ (แพทย์ไทย) แล้วขอพร
บูชาพระ หลวงพ่อโสธร
ฤาษี หมอชีวกโกมารภัจจ์
พระบ้านเกิดท่าน
เจ้าแม่กวนอิม
รัชกาลที่ 5
ปลูกต้นไม้ ว่านธรณีสาร
ด้านอำนวยโชคเมตตา
คาถา พุทธังเป็นยา ธัมมังรักษา สังฆังหาย ดึงคนมาด้วยนโมพุทธายะ
ปลูกในวันพระข้างขึ้น




บริษัท ห้างร้านต่างๆ
เสริมดวง นำพระพุทธรูปไปให้เจ้าอาวาสลงคาถานะค้าขายนำมาไว้ที่ร้านเป็นมงคล
แก้เคล็ด ไหว้ศาลหลักเมือง
ไหว้พระประจำวันเกิดของตนเอง ในวันขึ้น 8-15 ค่ำ เชื่อว่าจะเจริญขึ้น
อธิษฐานชื่อ....นามสกุล....เกิดวันที่....ขอบารมีพระเจ้าทรงเอง พระเสื้อเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าพ่อเจตคุปต์ และเจ้าพ่อหอกลอง ช่วยเปิดทาง
ให้กิจการของลูก (นึก) เจริญรุ่งเรือง...
จากความเชื่อ ศาลหลักเมืองหรือศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของท้องสนามหลวง ซึ่งตรงข้ามกับวัดพระแก้วมรกต
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองของประเทศไทย แหละเทพารักษ์อีก 5 องค์คือ
พระทรงเมือง
พระเสื้อเมือง
พระกาฬไชยศรี
เจ้าพ่อเจตคุปต์
เจ้าพ่อหอกลอง
เชื่อว่าถ้าท่านได้มาสักการะขอพรต่อเทพารักษ์ทั้ง 5 สถานที่นี้จะพบกับความสำเร็จทุกประกาณ ด้วยบารมีของหลักเมือง โดยท่านตั้งจิตขอบารมีศาลหลักเมืองแห่งประเทศไทย ช่วยเปิดทางให้ลูกเจริญในด้าน...(นึก...หรือการงานที่ทำอยู่) หลักจากนั้นให้ท่านกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวรในอดีตและปัจจุบัน รวมถึงเทพารักษ์ทั้ง 5 ให้ได้รับกุศล เมื่อได้รับกุศลแล้วขอให้ช่วยเปิดให้เท่านเจริญรุ่งเรืองขึ้น
บูชาพระ พระแก้วมรกต
ฮก ลก ซิ่ว
พระสังกัจจายน์
รัชกาลที่ 5
พระประจำวันเกิด
เจ้าแม่กวนอิม
ปลูกต้นไม้ ต้นใบเงิน ใบทอง
เศรษฐีเรือนใน
ด้านอำนวนโชคด้านบริวารดี
คาถา นโม พุทธายะ 3 จบ
ปลูกในวันพฤหัสบดีข้างขึ้น
**********************************

อธิษฐานจิตอย่างไรให้ได้บุญ

บูชาพระอย่างไรให้ถูกโฉลก


การอธิษฐานจิตคือ การตั้งจิตให้บริสุทธิ์ โดยนึกถึงคุณงามความดี เช่น การนึกถึงกุศลของการให้ทาน รักษาศึล ภาวนา สามารถเกิดบุญได้เช่นกัน




สำหรับผู้เกิดวันอาทิตย์


พระที่ควรมีไว้บูชาเป็นสิริมงคลสำหรับตนเองคือ พระปางถวายเนตร กำลังนพเคราะห์ 6 
กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (ประสูติวันอาทิตย์)
พระคุ้มครองบ้านคือ บิดา มารดา
พระที่ควรมีไว้ในบ้านเรือนคือ พระแก้วมรกต พระประจำวันเกิด


การอธิษฐานจิต (ที่บ้านหรือที่วัดก็ได้)
สวด อิติปิโส...(3 จบ)
คาถาประจำวันอาทิตย์ ทุกวันอาทิตย์ 6 จบ
อิ ระ ชา คะ ตะ ระ ศา อิ
ตามด้วยคาถาที่ท่านนับถือ เช่น พระคาถาชินบัญชรฯ หรืออื่นๆ


แล้วตั้งจิตว่า ข้าพเจ้าชื่อ....นามสกุล....เกิดวันที่....ขอบารมีพระ....เข้าคุ้มครองให้ลูกเจริญด้านหน้าที่การงานที่ทำอยู่ ...(นึก)... และการเงินที่มั่นคงขึ้น คู่ครองที่ดีขึ้น ขอให้สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายให้พ้นไปจากตัวลูก สาธุ!


ที่สำคัญ
ควรถวายดอกไม้ทุกวันเกิดตนเอง เปลี่ยนน้ำพระทุกวันอาทิตย์(นำน้ำมากรวดหน้าบ้านหรือพรมให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น)




สำหรับผู้ที่เกิดวันจันทร์
พระที่ควรบูชาเป็นสิริมงคลสำหรับตนเองคือ พระปางห้ามญาติ กำลังนพเคราะห์ 15
พระสีวลี ด้านเมตตามหานิยม
พระคุ้มครองบ้านคือ บิดา มารดา
พระที่ควรมีไว้ที่บ้านเรือนคือ พระแก้วมรกต หลวงพ่อโสธร ฯลฯ


การอธิษฐานจิต
เหมือนวันอาทิตย์ แต่เปลี่ยนบทสวดคาถาประจำวัน คาถาประจำวันจันทร์ 15 จบ ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง ติ




สำหรับผู้ที่เกิดวันอังคาร
พระที่ควรบูชาเป็นสิริมงคลสำหรับตนเองคือ พระปางไสยาสน์ กำลังนพเคราะห์ 8
พระประจำตัวคือ รัชกาลที่ 5 พระนอนที่วัดโพธิ์ นางกวัก กษัตริย์ไทยทุกพระองค์


การอธิษฐานจิต
เหมือนวันอาทิตย์ แต่เปลี่ยนบทสวดคาถาประจำวัน คาถาประจำวันอังคาร 8 จบ อะ สัง วิ สุ โร ปุ สะ พุ ภะ (กรณีเติมน้ำมันตะเกียงที่วัดสวด 8 จบ วน 8 จบ) 




สำหรับผู้ที่เกิดวันพุธ
พระที่ควรบูชาเป็นสิริมงคลสำหรับตนเองคือ พระปางอุ้มบาตร กำลังนพเคราะห์ 17
พระประจำตัวคือ หลวงพ่อปาน บิดา มารดา
พระคุ้มครองคือ หลวงพ่อชินราช หลวงพ่อทวด รัชกาลที่ 5


การอธิษฐานจิต
เหมือนวันอาทิตย์ แต่เปลี่ยนบทสวดคาถาประจำวัน คาถา ประจำวันพุธ 17 จบ ปิ สัม ระ โร ปุ สัต พุท




สำหรับผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี
พระที่ควรบูชาเป็นสิริมงคลสำหรับตนเองคือ พระปางสมาธิ กำลังนพเคราะห์ 19
พระประจำตัวคือ บิดา มารดา พระแก้วมรกต หลวงพ่อโสธร รัชกาลที่ 5 พระแม่อุมาเทวี ปู่ฤาษีตาไฟ
พระคุ้มครองคือ หลวงพ่อโต หลวงพ่อเงิน หลวงพ่อทอง หลวงพ่อมั่น หลวงพ่อคง หลวงพ่อเจริญ หลวงพ่อสุข หลวงพ่อสด หลวงพ่อชื่น เจ้าแม่กวนอิม


การอธิษฐานจิต
เหมือนวันอาทิตย์ แต่เปลี่ยนบทสวดคาถาประจำวัน คาถาประจำวันพฤหัสบดี 19 จบ ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ ภะ






สำหรับผู้ที่เกิดวันศุกร์
พระที่ควรบูชาเป็นสิริมงคลสำหรับตนเองคือ พระปางรำพึง กำลังนพเคราะห์ 21พระประจำตัวคือ บิดา มารดา รัชกาลที่ 5 หลวงพ่อทวด พระคุ้มครองคือ พระแก้วมรกต หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อบ้านแหลม หลวงพ่อทองวัดตะเคราทอง




การอธิษฐานจิต


เหมือนวันอาทิตย์ แต่เปลี่ยนบทสวดคาถาประจำวัน คาถาประจำวันศุกร์ 21 จบ คะ พุทธ ปัน ทู ทัม วะ คะ คะ








สำหรับผู้ที่เกิดวันเสาร์


พระที่ควรบูชาเป็นสิริมงคลสำหรับตนเองคือ พระปางนาคปรก กำลังนพเคราะห์ 10


พระประจำตัวคือ บิดา มารดา พระสังกัจจายน์ รัชกาลที่ 5 


พระคุ้มครองคือ หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อวัดบ้านแหลม รัชกาลที่ 5 กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์






การอธิษฐานจิต


เหมือนวันอาทิตย์ แต่เปลี่ยนบทสวดคาถาประจำวัน คาถาประจำวันเสาร์ 10 จบ วา โธ โน อะ มะ มะ วา วา








สำหรับผู้ที่เกิดวันพุธกลางคืน


พระที่ควรบูชาเป็นสิริมงคลสำหรับตนเองคือ พระปางปาลิไลยก์ (ราหู) กำลังนพเคราะห์ 12


พระประจำตัวคือ หลวงพ่อเงิน รัชกาลที่ 5 เจ้าแม่กวนอิม 


พระคุ้มครองคือ พระพุทธชินราช หลวงพ่อเณรน้อย(บางแสน) พระแม่อุมาเทวี




การอธิษฐานจิต


เหมือนวันอาทิตย์ แต่เปลี่ยนบทสวดคาถาประจำวัน คาถาประจำวันพุธกลางคืน 12 จบ อะ วิช สุ นุต สา นุต ติ


**********************************

การเลือกใช้สีเสื้อผ้าให้ถูกโฉลกกับวันเกิด

การเลือกสีเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับตนเอง อาจนำมาซึ่งความสง่างามและเกิดเป็นมงคลได้เช่นกัน สีทำให้เกิดมีอำนาจบารมีได้ ขึ้นอยู่กับท่านใส่สีเสื้อผ้าที่เป็นเดชแก่ตนเอง ท่านจะใส่ไปในวันเซ็นสัญญาก็ดี ติดต่อเปิดร้านก็ดี หรือสีรถก็ได้ ล้วนแต่เกิดสง่าราศีแก่ตัวท่านทั้งสิ้น




ผู้เกิดวันอาทิตย์ 
เดช(อำนาจ) ชมพู แดง 
ศรี(เมตตา) เขียว ดำ 
มนตรี(อุปถัมภ์) น้ำตาล 
กาลกิณี น้ำเงิน


ผู้เกิดวันจันทร์
เดช(อำนาจ) เขียว
ศรี(เมตตา) ดำ ขาว
มนตรี(อุปถัมภ์) เหลือง
กาลกิณี ส้ม


ผู้เกิดวันอังคาร
เดช(อำนาจ) ดำ
ศรี(เมตตา) เหลือง ม่วง
มนตรี(อุปถัมภ์) ขาว
กาลกิณี ชมพู


ผู้เกิดวันพุธ
เดช(อำนาจ) เหลือง
ศรี(เมตตา) เขียว น้ำเงิน
มนตรี(อุปถัมภ์) ดำ
กาลกิณี ขาว


ผู้เกิดวันพฤหัสบดี
เดช(อำนาจ) น้ำเงิน
ศรี(เมตตา) ส้ม เหลือง ขาว
มนตรี(อุปถัมภ์) ฟ้า
กาลกิณี ดำ


ผู้เกิดวันศุกร์
เดช(อำนาจ) ขาว
ศรี(เมตตา) ชมพู ฟ้า
มนตรี(อุปถัมภ์) เทา
กาลกิณี เขียว


ผู้เกิดวันเสาร์
เดช(อำนาจ) เขียว
ศรี(เมตตา) น้ำเงิน ดำ 
มนตรี(อุปถัมภ์) ฟ้า
กาลกิณี น้ำตาล


ผู้เกิดวันพุธ(กลางคืน)
เดช(อำนาจ) ส้ม
ศรี(เมตตา) ขาว เขียว
มนตรี(อุปถัมภ์) น้ำเงิน
กาลกิณี เหลือง


************************************************* 

การออกรถใหม่

นำรถไปเจิมที่วัด เพื่อเป็นสิริมงคลแก่รถท่าน
นำน้ำมันต์ 3 วัดศักดิ์สิทธิ์ มาประพรมที่รถ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและมีโชคลาภแก่ผู้ขับ
อัญเชิญพระบูชาศักดิ์สิทธิ์ 1 องค์ไว้ในรถเพื่อคุ้มครองตัวรถและผู้ขับ


วันที่อัญเชิญพระบูชาเข้ารถ
ให้อัญเชิญในวันเกิดของเจ้าของรถ ช่วงขึ้น 7-15 ค่ำ เพื่อคุ้มครอง เชื่อว่าจะทำให้ท่านปลอดภัย แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง


คำอาราธนา
สวดคาถาป้องกันภัย 10 ทิศ ข้าพเจ้าขออธิษฐานจิตอัญเชิญบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมถึง (พระที่ท่านไว้ในรถ)เข้าคุ้มครองรถยี่ห้อ...ทะเบียน...ให้มีแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป จะติดต่องานใดๆ ก็สำเร็จ สาธุ (แล้วจึงพรมน้ำมนต์ทั่วรถ พูดแต่สิ่งดีๆ...)


ก่อนขับรถออกไปวันแรก
ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้วพูดว่า
พระพุทธัง แคล้วคลาด
พระธรรมมัง แคล้วคลาด
พระสังฆัง แคล้วคลาด
ขอให้ลูกปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งปวง สาธุ


คาถาป้องกันภัยสิบทิศ
บูรพารัสมิง พระพุทธะคูณัง บูรพารัสมิง พระธัมเมตัง บูรพารัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรค คะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
(ท่องเที่ยวต่อๆ ไปให้เปลี่ยนจาก บูรพารัสมิง เป็น อาคเณรัสมิง ทักษิณรัสมิง หรดีรัสมิง ปัจฉิมรัสมิง พายัพรัสมิง อุดรรัสมิง อีสานรัสมิง)
********************************

การเลือกสีรถให้ถูกโฉลกกับวันเกิด

การเลือกสีรถให้เหมาะกับวันเกิด ก็เกิดเป็นมงคลเสริมสร้างราศีได้เช่นกัน


สีมงคล
ผู้เกิดวันอาทิตย์
เดช(อำนาจ) ดำ แดง
ศรี(เมตตา) เขียว
กาลกิณี(ไม่ดี) น้ำเงิน


ผู้เกิดวันจันทร์
เดช(อำนาจ) ขาว บรอนซ์
ศรี(เมตตา) ดำ
กาลกิณี(ไม่ดี) ส้ม


ผู้เกิดวันอังคาร
เดช(อำนาจ) ดำ คราม
ศรี(เมตตา) ขาว
กาลกิณี(ไม่ดี) ชมพู



ผู้เกิดวันพุธ
เดช(อำนาจ) แสด เหลือง บรอนซ์
ศรี(เมตตา) น้ำเงินเข้ม
กาลกิณี(ไม่ดี) ขาว


ผู้เกิดวันพฤหัสบดี
เดช(อำนาจ) เขียว น้ำเงิน
ศรี(เมตตา) บรอนซ์ ขาว
กาลกิณี(ไม่ดี) ดำ


ผู้เกิดวันศุกร์
เดช(อำนาจ) ขาว
ศรี(เมตตา) ฟ้า เทา
กาลกิณี(ไม่ดี) เขียว


ผู้เกิดวันเสาร์
เดช(อำนาจ) เขียว
ศรี(เมตตา) น้ำเงิน ดำ
กาลกิณี(ไม่ดี) น้ำตาล


ผู้เกิดวันพุธ(กลางคืน)
เดช(อำนาจ) ส้ม
ศรี(เมตตา) ขาว น้ำเงิน
กาลกิณี(ไม่ดี) เหลือง


*** กรณีออกรถมาแล้วสีเป็นกาลกิณี ก็แก้เคล็ดได้โดยนำน้ำมนต์ 3 วัดมารด แล้วอธิษฐานจิตขอแต่สิ่งดีๆ ขอพร...